ตำรับจันทร์ พัฒนามาจาก ยาตำรับโบราณชื่อ “จันทน์ลีลา’ ซึ่งผลิตจากสมุนไพรทั้งหมด ประกอบด้วย โกฐสอ โกฐเขมา โกฐจุฬาลัมพา แก่นจันทน์ขาว แก่นจันทน์แดง ลูกกระดอม เถาบอระเพ็ด รากปลาไหลเผือก และพิมเสน ซึ่งเป็นตำรับเดียวกับที่ใช้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ สรรพคุณช่วยในเรื่องการแก้ไข ปวดเมื่อยตามร่างกาย และเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก้ร่างกาย กินไปแล้วจะช่วยให้หายใจโล่งขึ้น ไข้ลดลง ขับพิษออกจากทวาร บรรเทาอาการไข้ตัวร้อน ไข้เปลี่ยนฤดู
เราพัฒนาสูตรนี้ โดยแพทย์แผนไทยและผู้เชี่ยวชาญ มาตั้งแต่เริ่มการระบาดเมื่อปีที่ผ่านมา จนมาเป็น “ตำรับจันทร์” ซึ่งประกอบด้วย สารสกัด โกฐเขมา ถั่งเช่า, โสมไซบีเรีย, กระชาย, กระเทียม, ขิง, มะขามป้อม และพริกไทยดำ โดยมีจุดประสงค์ เพื่อเพิ่มประสิทธิกาพการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยต้านทานเชื้อไวรัส ที่โจมตีปอด ได้ดียิ่งขึ้น สามารถทานได้ทั้งก่อนเป็น หรือเป็นแล้ว ตามตำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ
มีการทดลองใช้จริง กับผู้ที่เป็น ปอดอักเสบ ติดเชื้อที่ปอด จากไวรัส มาแล้ว หลายราย ผลเป็นที่น่าพอใจ ใน 5-7 วัน
เหมาะสำหรับ
- ผู้ที่มีไข้ ตัวร้อน ปวดเมื่อย
- เป็น หอบ หืด
- ปอดอักเสบ ติดเชื้อ ไม่รุนแรง
- หายใจไม่เต็มอิ่ม
งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ จันทร์ลีลา
https://www.technologychaoban.com/bullet-news-today/article_146651
สรรพคุณสารสกัดสมุนไพร 8 ชนิดในตำรับจันทร์
1. โกฐเขมา
สรรพคุณของโกฐเขมา
1. เหง้าโกฐเขมามีรสเผ็ดขมหอม เป็นยาสุขุม ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง ช่วยบำรุงธาตุ ช่วยทำให้เจริญอาหาร[1],[3],[4]
2. ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้หวัดคัดจมูก แก้เหงื่อออกมาก แก้ไข้รากสาดเรื้อรัง แก้ลมตะกัง[3],[4]
3. ใช้เป็นยาแก้หอบหืด ช่วยระงับอาการหอบคล้ายยาอีเฟรดริน[3],[4]
4. ใช้เป็นยาแก้คลื่นไส้อาเจียน ช่วยขับเสมหะ ขับพิษเสมหะ[1]
5. ใช้เป็นยาแก้โรคในปากในคอ โรคในปากในคอเป็นแผลเน่าเปื่อย[2],[3],[4]
6. เหง้าใช้เป็นยาขับลม ขับลมชื้นในกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้จุกแน่น ช่วยย่อยอาหารในกระเพาะ และช่วยแก้เสียดแทงสองราวข้าว
7. ใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ท้องร่วง[1],[3]
8. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ[3],[4]
9. ใช้เป็นยาแก้ผดผื่นคัน[1]
10. ใช้เป็นยาแก้โรคเข้าข้อ แก้ขาปวดบวม ขาไม่มีแรง ปวดข้อ[3],[4]
11. สรรพคุณตามตำราการแพทย์แผนจีน ระบุว่า โกฐเขมานั้นมีฤทธิ์ขับลมและความชื้น, แก้ความชื้นกระทบส่วนกลาง (เบื่ออาหาร อาเจียน อึดอัดลิ้นปี่ จุกเสียด ท้องเสีย), ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัดจากลมเย็นหรือความชื้น (จับไข้ หนาว ๆ ร้อน ๆ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว), ช่วยเสริมระบบการย่อยอาหาร และแก้อาการปวดข้อและกล้ามเนื้อ[5]
12. แพทย์แผนโบราณของจีนจะนิยมใช้โกฐเขมามาก ใช้เข้ายาจีนหลายขนาน ตำรายาจีนจะใช้เป็นยาแก้ท้องเสีย ท้องร่วง แก้ปวดข้อเนื่องจากข้ออักเสบ แก้อาการบวม (โดยเฉพาะอาการบวมที่ขา) แก้หวัด และแก้โรคตาบอดตอนกลางคืน โดยใช้ในขนาดประมาณ 3-9 กรัม[3],[4] นอกจากนี้ยังใช้โกฐเขมาเข้ากับยาอีกหลายตัว เป็นตำรายาแก้ตับอักเสบด้วย[1]
13. ในบัญชียาจากสมุนไพรตามประกาศของคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา (ฉบับที่ 5) มีปรากฏการใช้โกฐเขมารวม 2 ตำรับ คือ ยารักษากลุ่มอาการทางระบบไหลเวียนโลหิตหรือยาแก้ลม มีปรากฏในตำรับ "ยาหอมเทพจิตร" และตำรับ "ยาหอมนวโกฐ" ที่มีส่วนประกอบของโกฐเขมาอยู่ในพิกัดโกฐทั้งเก้าร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ อีกในตำรับ โดยมีสรรพคุณเป็นยาแก้ลมวิงเวียน แก้อาการหน้ามืด ตาลาย ใจสั่น คลื่นเหียนอาเจียน และช่วยแก้ลมจุกแน่นในท้อง และในกลุ่มยารักษาอาการทางระบบอาหาร มีปรากฏการใช้โกฐเขมาร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ ในตำรับ "ยาธาตุบรรจบ" ซึ่งมีสรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการท้องอืดเฟ้อ อาการอุจจาระธาตุพิการ ช่วยแก้อาการท้องเสียชนิดที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ[3]
14. โกฐเขมาเป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้ในตำรับยาแผนโบราณของไทยหลายตำรับ และได้มีการนำมาใช้ในเครื่องยาไทยที่เรียกว่า "พิกัดโกฐ" โดยโกฐเขมานั้นจัดอยู่ใน "โกฐทั้งห้า" (เบญจโกฐ), "โกฐทั้งเจ็ด" (สัตตโกฐ) และ "โกฐทั้งเก้า" (เนาวโกฐ) ซึ่งมีสรรพคุณโดยรวมคือเป็นยาแก้ไข้ แก้ไข้ร่วมกับมีเสมหะ แก้หืดไอ แก้หอบ แก้สะอึก แก้ลมในกองธาตุ ช่วยขับลม ใช้เป็นยาชูกำลัง บำรุงโลหิต บำรุงกระดูก
2. ถั่งเช่า
สรรพคุณของถั่งเช่า
1. เห็ดถั่งเช่ามีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง เพิ่มภูมิต้านทานโรค ทำให้ร่างกายสดชื่น ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย
2. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยชะลอความแก่ชราและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
3. ช่วยในด้านอารมณ์ ช่วยระงับประสาท ทำให้จิตใจสงบ ลดอาการหงุดหงิดง่าย
4. ช่วยเพิ่มความจำ ป้องกันโรคความจำเสื่อม ช่วยลดการตายของเซลล์ในสมอง
5. ตังถั่งเช่ามีสรรพคุณช่วยบำรุงหลอดเลือด
6. ช่วยบำรุงปอด ช่วยบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก
7. ช่วยในเรื่องระบบทางเดินหายใจ แก้อาการไอเรื้อรัง รักษาถุงลมโป่งพอง ช่วยบำบัดโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
8. ช่วยบรรเทาและรักษาอาการของโรคหอบหืด
9. ช่วยแก้วัณโรค ถุงลมโป่งพองหรืออาการผิดปกติในระบบปอดและหัวใจ
10. ช่วยละลายเสมหะ หยุดอาการเลือดออกทางเสมหะ
11. เชื่อว่ามันช่วยรักษามะเร็ง ช่วยต่อต้านเซลล์มะเร็งและลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้
12. ช่วยลดความดันโลหิต อาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว
13. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยเบาหวานไวต่ออินซูลินมากขึ้น ช่วยจัดการน้ำตาลในร่างกายได้ดีขึ้น
14. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด และรักษาสมดุลของคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด
15. ช่วยต่อต้านไม่ให้เกิดไขมันแข็งตัวจากการถูกออกซิไดซ์โดยอนุมูลอิสระ
16. ช่วยป้องกันไขมันเลว (LDL) ไม่ให้เกาะในหลอดเลือด
17. ช่วยกระตุ้นระบบไหลเวียนของเลือดให้คล่องตัว ช่วยขยายหลอดเลือด และเพิ่มปริมาณของเลือดที่เข้าไปหล่อเลี้ยงปอดและหัวใจ เพิ่มระดับออกซิเจนและช่วยในเรื่องระบบไหลเวียนโลหิต บรรเทาอาการขาดออกซิเจน
18. ช่วยบำรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของตับและไตให้ดีขึ้น
19. จากงานวิจัยพบว่าถั่งเช่าช่วยให้ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังมีอาการดีขึ้นมากถึง 51% หลังจากรักษาด้วยถั่งเช่าเพียง 1 เดือน
20. ช่วยรักษาคนไข้ที่ธาตุหยางพร่องในไต (หรืออาการปวดหลัง กลัวหนาว หัวเข่าเย็น หรือปัสสาวะบ่อย)
21. มีฤทธิ์ในการช่วยยับยั้งพิษจากแบคทีเรีย รวมไปถึงแบคทีเรียวัณโรคด้วย
22. ถั่งเช่ามีสรรพคุณช่วยลดการอักเสบ
23. ช่วยห้ามเลือด
24. สำหรับนักกีฬาสมุนไพรชนิดนี้จะช่วยเพิ่มสมรรถนะของนักวิ่งให้ดียิ่งขึ้น
25. ประโยชน์ถั่งเช่าสำหรับสตรี ใช้เป็นยาบำรุงช่วยทำให้มีบุตรง่ายขึ้น ช่วยปรับประจำเดือน ทำให้เลือดลมเดินดีขึ้น
3. โสมไซบีเรีย
โสมไซบีเรีย (Siberian Ginseng) หรือ “ อีลิวเธโร ” เป็นสมุนไพรที่เด่นๆ เรื่องการช่วยเพิ่มพลังงานและความมีชีวิตชีวาให้แก่ร่างกาย ต้นโสมไซบีเรีย ก็มีลักษณะคล้ายโสมเกาหลี แต่นิยมปลูกกันในประเทศประเทศรัสเซีย หรือไซบีเรีย จึงเรียกว่า โสมไซบีเรีย
ซึ่งมีสารสำคัญที่ชื่อว่า อีลิวเธโรไซด์
ช่วยเพิ่มเซลล์เม็ดเลือดขาวในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ช่วยป้องกันและบรรเทาโรคหวัด และการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
ช่วยป้องกันอันตรายจากรังสี การฉายแสง และการใช้เคมีบำบัดในผู้ป่วย
มะเร็ง ทำให้ร่างกายขับสารพิษออกมา ทำให้ร่างกายสดชื่นกระปรี้กระเปร่า
เพิ่มความมีชีวิตชีวาให้กับร่างกาย
4. กระชาย
ในชั่วยามนี้ กระแสการนำพืชผลมาช่วยบำรุงและต่อต้านโรคโควิด-19 โดยหลาย ๆ คน อาจจะเชื่อว่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการช่วยต้านโรคดังกล่าวได้ ซึ่งรวมไปถึง ‘กระชาย’ ที่เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยหนึ่งในการช่วยต่อต้านโรคนี้
โดยความสำเร็จเบื้องต้น พบว่า “สารสกัดกระชายขาว” มีฤทธิ์ต้าน COVID-19 ในหลอดทดลอง นักวิจัย ม.มหิดล เร่งพัฒนาสารสกัดกระชายขาวเพื่อใช้เป็นยาสำหรับโรค COVID-19 คาดว่าใช้เวลาอย่างน้อย 1 ปี ในการวิจัยและพัฒนาให้สำเร็จ โดยโครงการวิจัยต้านเชื้อไวรัสโคโรนาจากสมุนไพรไทย เป็นความร่วมมือระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS (ข้อมูลจาก : https://www.rama.mahidol.ac.th/ramaclinic/article/09sep2020-1522)
**แต่ทั้งนี้การใช้ใบกระชายในการต้านโควิด-19 นั้น ยังคงเป็นการศึกษาในห้องทดลอง**
แต่ในขณะเดียวกันพืชชนิดนี้มีสรรพคุณที่มากกว่าการต้านโรคโควิดอีกด้วย
ประโยชน์จาก “กระชาย”
- แก้ท้องร่วง : ใช้เหง้ากระชายดำ 1-2 หัว แล้วนำไปปิ้งไฟ จากนั้นมาตำหรือฝนผสมกับน้ำปูนใสคั้นมารับประทาน 1-2 ช้องแกง
- แก้ท้องอืด จุกเสียด ปวดมวนท้อง : ใช้ราก และ เหง้า ครึ่งกำมือ นำมาต้มเอาน้ำหรือใช้ปรุงอาหาร
- แก้โรคบิด : ใช้เหงาสด 2 เหง้าบดละเอียดผสมน้ำปูนใส คั้นแต่น้ำดื่ม
- แก้ริดสีดวง : ใช้เหง้าสด 6-8 เหง้า ทำการผสมเนื้อมะขามเปียก และเกลือแกง จำนวน 3 ช้อนชา แล้วนำมาตำและต้มกับน้ำ 6 แก้ว ทำการเคี่ยวจนเหลือ 2 แก้ว นำมารับประทานครั้งละครึ่งแก้วติดต่อกัน 1 เดือน จนกว่าริดสีดวงทวารจะหาย
- บำรุงหัวใจ : ให้ใช้เหง้าและรากกระชายมาปอกเปลือก จากนั้นก็ล้างน้ำให้สะอาด และหั่นตากจนแห้ง แล้วก็มาบดเป็นผง นำผงแห้งมาชงน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา ดื่มให้หมดในครั้งเดียว
อย่างไรก็ตาม ในการบริโภคกระชายนั้น ก็มีข้อควรระวังเช่นเดียวกัน ซึ่งถ้ารับประทานมากเกินไป อาจจะมีปัญหาในเรื่องของเหงือกร่น, ใจสั่นได้ อีกทั้งยังมีผลต่อการทำงานของตับ ซึ่งผู้ที่ป่วยโรคนี้ จะต้องมีความระมัดระวังเป็นพิเศษ นอกจากนี้ก็ไม่ควรรับประทานอย่างต่อเนื่อง เพราะกระชายมีฤทธิ์ร้อน อาจจะทำให้เกิดโรคร้อนใน หรือ แผลในปากตามมาได้
5. กระเทียม
สรรพคุณของกระเทียม
1. ช่วยบำรุงผิวหนังให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง
2. ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อในร่างกาย
3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
4. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
5. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและน้ำตาลในเลือด
6. ช่วยปรับสมดุลในร่างกาย
7. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ อาการมึนงง ปวดศีรษะ หูอื้อ
8. ช่วยในเรื่องระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินปัสสาวะ เพราะมีสารที่ช่วยควบคุมฮอร์โมนทั้งหญิงและชาย ช่วยทำให้มดลูกบีบตัว เพิ่มพละกำลังให้มีเรี่ยวแรง
9. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต
10. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงของหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน
11. ช่วยต่อต้านเนื้องอก
12. ช่วยแก้ปัญหาผมบาง ยาวช้า มีสีเทา
13. ช่วยป้องกันการเกิดและรักษาโรคโลหิตจาง
14. ช่วยในการขับพิษและสารพิษอันตรายที่ปนเปื้อนในเม็ดเลือด
15. ช่วยป้องกันผนังหลอดเลือดหนาและแข็งตัว
16. สารสกัดน้ำมันกระเทียมมีสารที่มีส่วนช่วยในการละลายลิ่มเลือด
17. ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
18. มีสารต่อต้านไม่ให้เม็ดเลือดแดงแตก
19. ช่วยบรรเทาอาการไอ น้ำมูกไหล ป้องกันหวัด
20. ช่วยรักษาโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่
21. ช่วยรักษาอาการเยื่อบุจมูกอักเสบและไซนัส
22. ช่วยรักษาโรคไอกรน
23. ช่วยแก้อาการหอบ หืด
24. ช่วยรักษาโรคหลอดลม
25. ช่วยระงับกลิ่นปาก
26. ช่วยในการขับเหงื่อ
27. ช่วยในการขับเสมหะ
28. ช่วยควบคุมโรคกระเพาะ ด้วยสารที่ช่วยยับยั้งไม่ให้น้ำย่อยอาหารมาย่อยแผลในกระเพาะ
29. ช่วยในการขับลม
30. ช่วยรักษาอาการจุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืด ท้องเฟ้อ
31. ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
32. ช่วยรักษาโรคบิด
33. ช่วยในการขับปัสสาวะ
34. ช่วยในการขับพยาธิได้หลายชนิด เช่น พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย พยาธิเข็มหมุด พยาธิไส้เดือน เป็นต้น
35. ช่วยรักษาโรคตับอ่อนอักเสบชนิดรุนแรงได้
36. ช่วยป้องกันการเกิดโรคไต
37. ช่วยฆ่าเชื้อรา เชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ รวมถึงเชื้อราตามหนังศีรษะและบริเวณเล็บ
38. ช่วยยับยั้งเชื้อต่าง ๆ เช่น เชื้อที่ทำให้เกิดฝีหนอง คออักเสบ เชื้อปอดบวม เชื้อวัณโรค เป็นต้น
39. ช่วยกำจัดพิษจากสารตะกั่ว
40. ช่วยรักษากลาก เกลื้อน
41. ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของเนื้อเยื่อ บำรุงข้อต่อและกระดูกในร่างกาย
42. บรรเทาอาการปวดข้อและปวดเมื่อยตามร่างกาย
43. ช่วยแก้อาการเคล็ดขัดยอกและเท้าแพลง เพราะมีสารที่ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดมายังบริเวณที่นวดยาได้ดีมากขึ้นนั่นเอง
44. มีสารต้านอาการไขข้ออักเสบ โรคข้อรูมาติสซั่ม
45. กระเทียมมีกลิ่นฉุนจึงสามารถช่วยไล่ยุงได้เป็นอย่างดี
46. ช่วยกระตุ้นน้ำย่อย เพิ่มความยากอาหาร
6. ขิง
ประโยชน์ของขิง
1. ขิงจัดว่าเป็นยาอายุวัฒนะชั้นยอด
2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเป็นจำนวนมาก ช่วยชะลอความแก่และชะลอการเกิดริ้วรอย
3. มีส่วนช่วยในการป้องกัน ต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง ต่อต้านการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
4. ช่วยลดผลข้างเคียงจากสารเคมีที่ใช้ในการรักษามะเร็ง ดังนั้นควรรับประทานขิงควบคู่ไปกับการรักษามะเร็งจะเป็นผลดี
5. ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น และช่วยในการขับเหงื่อ
6. ช่วยแก้อาการร้อนใน ด้วยการใช้ลำต้นสด ๆ นำมาทุบให้แหลกประมาณ 1 กำมือ แล้วต้มกับน้ำดื่ม
7. ช่วยลดความอ้วน ลดระดับไขมัน คอเลสเตอรอล ด้วยการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระ
8. ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะและไมเกรน ด้วยการรับประทานน้ำขิงบ่อย ๆ
9. ช่วยลดความอยากของผู้ติดยาเสพติดลงได้
10. แก้ตานขโมย ด้วยการใช้ขิง ใบกะเพรา พริกไทย ไพล มาบดผสมกันแล้วนำมารับประทาน
11. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิต ด้วยการนำขิงสดมาฝานต้มกับน้ำดื่ม
12. ช่วยบำรุงหัวใจของคุณให้แข็งแรง
13. ช่วยบรรเทาอาการของโรคประสาท ซึ่งทำให้จิตใจขุ่นมัว (ดอก)
14. ช่วยฟื้นฟูร่างการสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร ด้วยการรับประทานไก่ผัดขิง
15. มีส่วนช่วยให้เจริญอาหาร (ราก, เหง้า) ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 1 องคุลีนำมาต้มกับน้ำดื่ม ก็จะได้เป็นยาขมเจริญอาหาร
16. ใช้กินเพื่อบำรุงเป็นยาธาตุ บำรุงธาตุไฟ (เหง้า, ดอก)
17. ใช้บำรุงน้ำนมของมารดา (ผล)
18. ช่วยทำให้นอนหลับได้อย่างสบาย
19. การรับประทานขิงจะช่วยทำให้เลือดแข็งตัวเป็นลิ่มเลือดได้ช้าลง
20. ใช้แก้ไข้ (ผล) ด้วยการนำขิงสดมาคั้นเป็นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้วย แล้วผสมกับน้ำผึ้ง 1 ช้อนชา นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วย แล้วนำมาดื่มวันละ 3 ครั้ง จะช่วยบรรเทาอาการได้
21. ช่วยแก้หวัด บรรเทาอาการไอ บรรเทาหวัดจับเสมหะ ด้วยการใช้ขิงสดฝนกับน้ำมะนาวใส่เกลือนิดหน่อย
22. ไอน้ำหอมระเหยจากน้ำขิงช่วยทำลายไวรัสหวัดในทางเดินหายใจได้
23. แก้ลม (ราก)
24. ในผู้ป่วยที่มีอาการเมายาสลบหลังผ่าตัด น้ำขิงช่วยแก้เมาได้
25. ช่วยแก้อาการเมารถ เมาเรือได้เป็นอย่างดี ด้วยการใช้ขิงสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาเฉพาะน้ำดื่ม (ไม่ต้องดื่มน้ำตาม)
26. ช่วยแก้ปัญหาผมร่วง หัวล้าน ด้วยการนำเหง้าสดไปผิงไฟจนอุ่น แล้วนำมาตำให้แหลก นำมาพอกบริเวณที่มีผมร่วง วันละ 2 ครั้งจนอาการดีขึ้น หรืออีกวิธีก็คือคั้นเอาเฉพาะน้ำขิงมาผสมกับน้ำมันมะกอกแล้วนำมาหมักผม นวดให้ทั่วศีรษะประมาณ 30 นาทีก็ช่วยลดปัญหาผมร่วงได้เหมือนกัน แถมยังช่วยให้ผมสวย แข็งแรง มีความนุ่มลื่น ไม่ขาดง่ายอีกด้วย
27. ช่วยบำรุงสายตา รักษาโรคเกี่ยวกับตา และใช้แก้อาการตาฟาง (ผล, ใบ)
28. ช่วยรักษาอาการตาแฉะ (ดอก)
29. ช่วยแก้โรคกำเดา (ใบ)
30. ใช้แก้อาการคอแห้ง เจ็บคอ (ผล)
31. ใช้รักษาอาการปากคอเปื่อย ท้องผูก (เหง้า,ดอก)
32. ช่วยรักษาอาการปวดฟัน ด้วยการนำขิงแก่มาทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง จากนั้นนำมาพอกบริเวณฟันที่ปวด
33. แก้เสมหะ เสมหะขาวเหลวปริมาณมากมีฟอง (ผล, ราก)
34. ช่วยรักษาภาวะน้ำลายมาก อาเจียนเป็นน้ำใส
35. ช่วยลดกลิ่นปาก แก้อาการปากเหม็น ด้วยการนำขิงมาคั้นผสมน้ำอุ่นและเกลือเล็กน้อย นำมาอมบ้วนปาก ช่วยฆ่าเชื้อโรคในปากได้อีกด้วย
36. ช่วยบำรุงรักษาฟันและป้องกันการเกิดฟันผุ
37. ช่วยกำจัดกลิ่นรักแร้ ด้วยการใช้เหง้าขิงแก่นำมาทุบให้แหลก แล้วนำมาคั้นเอาน้ำมาทารักแร้เป็นประจำ จะช่วยกำจัดกลิ่นได้
38. ช่วยแก้อาการสะอึก ด้วยการใช้ขิงสดตำจนแหลก คั้นเอาเฉพาะน้ำผสมกับน้ำผึ้งเล็กน้อย คนจนเข้ากันแล้วนำมาดื่ม
39. ช่วยรักษาโรคบิด (ผล, ราก, ดอก) ด้วยการใช้ขิงสดประมาณ 75 กรัม ผสมกับน้ำตาลแดง นำมาตำจนเข้ากัน แล้วรับประทาน 3 มื้อต่อวัน
40. ช่วยแก้อาการอาเจียน (เหง้า, ผล) ด้วยการนำขิงสดประมาณ 5 กรัมหรือขนาดเท่านิ้วหัวแม่มือ นำมาทุบให้แตกแล้วต้มกับน้ำดื่ม
41. ช่วยลดการคลื่นไส้อาเจียนจากการแพ้ท้อง (สำหรับหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานบ่อยมากจนเกินไป)
42. แก้อาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้อง ขับลมในลำไส้ (ผล, ราก, ใบ) ด้วยการนำขิงแก่มาทุบพอแหลก เทน้ำเดือดลงไปครึ่งแก้ว แล้วปิดฝาตั้งทิ้งไว้ประมาณ 5 นาทีแล้วนำน้ำมาดื่มระหว่างมื้ออาหาร
43. ช่วยรักษาอาการปวดในช่วงก่อนหรือหลังประจำเดือน ด้วยการนำขิงแก่ที่แห้งแล้วประมาณ 30 กรัมมาต้มกับน้ำดื่มบ่อย ๆ
44. ช่วยในการย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ดอก)
45. ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ลดอาการจุกเสียด (เหง้า)
46. ช่วยในการขับถ่าย และช่วยในเรื่องของระบบลำไส้ให้ทำงานได้อย่างเป็นปกติ
47. ช่วยฆ่าพยาธิ พยาธิกลมจุกลำไส้ (ใบ) ใช้น้ำขิงผสมกับน้ำผึ้งแล้วนำมาดื่ม
48. ช่วยแก้อาการขัดปัสสาวะ (ดอก, ใบ)
49. ช่วยรักษาปัสสาวะรดที่นอนในผู้ป่วยที่มีภาวะหยางพร่อง มีความเย็นในร่างกายเป็นเหตุ
50. ช่วยรักษาโรคนิ่ว (ใบ, ดอก)
51. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ใบ)
52. ช่วยรักษาอาการปวดข้อตามร่างกายด้วยการรับประทานขิงสดเป็นประจำ
53. มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
54. ใช้เป็นยาแก้คัน ด้วยการนำแก่นของขิงฝนทำเป็นยา (แก่น)
55. แก้ปัญหาหนังที่มือลอกเป็นขุย ด้วยการใช้เหง้าสดมาหั่นเป็นแผ่น แล้วนำมาแช่เหล้า 1 ถ้วยชา ทิ้งไว้ 1 วัน แล้วนำแผ่นขิงมาถูบริเวณดังกล่าววันละ 2 ครั้ง
56. ช่วยรักษาแผลเริมบริเวณหลัง ด้วยการใช้เหง้า 1 หัว นำมาเผาผิวนอกจนเป็นถ่าน คอยปาดถ่านที่ผิวนอกออกไปเรื่อย ๆ แล้วนำผงที่ได้มาผสมกับน้ำดีหมูนำมาทาบริเวณที่เป็นแผล
57. หากถูกแมงมุมกัด ใช้ขิงสดฝานบาง ๆ นำมาวางทับบริเวณที่ถูกกัดจะช่วยบรรเทาอาการได้
58. ช่วยรักษาอาการมือเท้าเย็น กลัวหนาว เย็นท้อง เป็นต้น
59. ช่วยป้องกันการแพ้อาหารทะเลจนเกิดผื่นคัน ลมพิษ หรืออาหารช็อก
60. ช่วยรักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการนำขิงสดมาตำให้แหลก แล้วนำกากมาพอกบริเวณแผล เพื่อป้องกันการอักเสบและการเกิดหนอง
61. ในขิงมีสารที่สามารถใช้กันบูดกันหืนในน้ำมันได้
62. ในด้านการประกอบอาหารนั้น ขิงสามารถช่วยเพิ่มรสชาติอาหารได้เป็นอย่างดี และสามารถช่วยดับกลิ่นคาวของอาหารได้ดีอีกด้วย
63. ในด้านความงามนั้นมีผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้บำรุงผิวที่มีส่วนผสมของขิงอีกด้วย
64. ช่วยให้ผิวพรรณเรียบเนียนยิ่งขึ้น ด้วยการนำขิงสดมาขูดเป็นฝอยแล้วนำมานวดบริเวณต้นขา ก้น หรือบริเวณที่มีเซลลูไลต์จะช่วยลดความขรุขระของผิวได้อีกด้วย
65. ผลิตภัณฑ์จากขิงนั้นนำมาแปรรูปได้หลายอย่าง เช่น บัวลอยน้ำขิง ขิงแช่อิ่ม ขิงเชื่อม ขิงกระป๋อง ขิงแคปซูล น้ำขิงมะนาว เป็นต้น
7. มะขามป้อม
ประโยชน์ของมะข้ามป้อม
1. นิยมนำมารับประทานเพื่อให้สดชื่น ชุ่มคอ แก้กระหาย
2. วิตามินซีในมะขามป้อมสามารถดูดซึมได้เร็วกว่าวิตามินซีชนิดเม็ดเป็นอย่างมาก
3. ใช้บำรุงผิวหน้าให้ขาวสดใส รักษาฝ้า ด้วยการนำมะขามป้อมมาฝนกับฝาละมีแล้วนำน้ำที่ได้มาทาบริเวณรอยฝ้า
4. ช่วยบำรุงสุขภาพผิวพรรณ ชะลอการเกิดริ้วรอย
5. ช่วยบำรุงและรักษาเส้นผมให้มีสุขภาพแข็งแรง ผมนุ่มลื่น ป้องกันผมหงอก ด้วยการทอดมะขามป้อมกับน้ำมันมะพร้าว แล้วเอาน้ำมันมาหมักผม
6. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา
7. ช่วยในการบำรุงประสาทและสมอง
8. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
9. เป็นผลไม้ที่ช่วงบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี โดยช่วยบำรุงอวัยวะแทบจะทุกส่วนของร่างกาย
10. ช่วยบำรุงโลหิตได้เป็นอย่างดี
11. มะขามป้อมมีเป็นยาแก้หวัด แก้ไอ และละลายเสมหะได้อีกด้วย โดยใช้ผลสดประมาณ 30 ผล นำมาคั้นเอาน้ำหรือนำมาต้มทั้งผลแล้วดื่มแทนน้ำ ทั้งนี้ควรเลือกมะขามป้อมที่แก่จัด ผิวออกเหลืองจะได้ผลดีที่สุดในการรักษาอาการไอและหวัด
12. ใบสดมะขามป้อมนำมาต้มน้ำอาบ ลดอาการไข้
13. มะขามป้อมมีฤทธิ์ในการต่อต้านการเกิดโรคมะเร็ง
14. มะขามป้อมเป็นตัวช่วยในการลดคอเลสเตอรอล ลดน้ำตาล ลดไขมันในเลือดได้ด้วย
15. ช่วยรักษาและป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน
16. ใช้แก้อาการปวดฟันได้ ด้วยการใช้ปมกิ่งก้านต้มกับน้ำแล้วนำมาอมบ้วนปากบ่อย ๆ
17. รสเปรี้ยวของมะขามป้อมช่วยในการละลายเสมหะและบำรุงเสียงได้เป็นอย่างดี
18. รากแห้งมะขามป้อม นำมาต้มดื่มแก้อาการท้องเสีย ร้อนใน ความดันโลหิต
19. ช่วยในการป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
20. ช่วยลดอาการแทรกซ้อนทางตาจากโรคเบาหวานได้อีกด้วย
21. มะขามป้อมเป็นส่วนประกอบใช้สำหรับการรักษาและป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัณโรค รักษาภาวะของโรคเอดส์
22. มะขามป้อมแห้งช่วยรักษาโรคบิด ใช้ล้างตา รักษาตาแดง ตาอักเสบได้
23. มะขามป้อมแห้ง เมื่อนำมาผสมน้ำสนิมเหล็กจะช่วยแก้โรคดีซ่านได้
24. มะขามป้อมช่วยป้องกันและรักษาโรคความดันโลหิตสูง
25. ช่วยรักษาโรคคอตีบ
26. ช่วยบำรุงปอด หลอดลม หัวใจ และกระเพาะ
27. เมล็ดมะขามป้อมเมื่อนำมาตำเป็นผงชงกับน้ำร้อนดื่ม ช่วยรักษาโรคหอบ หืด หลอดลมอักเสบ อาการคลื่นไส้อาเจียนได้
28. ช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร
29. ช่วยป้องกันและรักษาอาการท้องผูก
30. ช่วยยับยั้งความเป็นพิษของตับและไตได้
31. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย และยาถ่ายพยาธิ
32. ยางจากผลใช้หยอดตาแก้ตาอักเสบ กินเพื่อช่วยในการย่อยอาหารและขับปัสสาวะ
33. เปลือกมะขามป้อมสามารถนำมาต้มดื่มแก้โรคบิด
34. ช่วยในการปรับประจำเดือนให้มาเป็นปกติ
35. ช่วยรักษาอาการไข้ทับระดูได้
36. ช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้า ด้วยการใช้เปลือกต้นมะขามป้อมมาตำให้ละเอียด ผสมกับน้ำแล้วชะโลมให้ทั่ว
37. ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อราได้
38. รากสดมะขามป้อมช่วยในการแก้พิษจากการถูกตะขาบกัด
39. เปลือกของลำต้นมะขามป้อมใช้รักษาบาดแผล แก้ฟกช้ำได้ ด้วยการนำเปลือกแห้งมาบดเป็นผงแล้วนำมาโรยบริเวณบาดแผล
40. ต้นและเปลือกของมะขามป้อมใช้เป็นยาฝาดสมาน
41. เมล็ดของมะขามป้อม เมื่อนำมาเผาไฟจนเป็นเถ้าแล้วนำมาผสมกับน้ำพืช นำมาทาแก้ตุ่มคันได้
42. มะขามป้อมมีฤทธิ์ช่วยป้องกันกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน และช่วยลดไขมันในเลือด ต้านมะเร็งและไวรัส
43. ลำต้นมะขามป้อมนั้นเป็นไม้เนื้อแข็ง ทนทาน จึงเหมาะแก่การใช้ทำเครื่องประดับ เสาเข็ม หรือนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิง
44. ใบแห้ง นำมาย้อมเส้นใย ไหม ขนสัตว์ จะให้สีน้ำตาลเหลือง
45. ดอก ใช้เข้าเครื่องยา มีกลิ่นหอม ใช้เป็นยาเย็นและยาระบาย
46. นำมาใช้ทำเป็นยาสระผม ช่วยให้ผมดกดำและป้องกันผมหงอกก่อนวัยอีกด้วย
47. มะขามป้อมเป็ลผลไม้ที่นำมาแปรรูปได้หลากหลายมาก เช่น อาหารเสริม เครื่องสำอาง ยาแก้ไอ ยาสระผม น้ำมะขามป้อม มะขามป้อมแช่อิ่ม
8. พริกไทยดำ
https://medthai.com/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/
ประโยชน์ของพริกไทย
1. เมล็ดพริกไทยมีสารฟีนอลิกและสารพิเพอรีน ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (เมล็ด)
2. เมล็ดพริกไทยมีสารพิเพอรีน (Piperine) ซึ่งเป็นสารอัลคาลอยด์ที่มีส่วนช่วยรักษาและป้องกันการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้ (อ้างอิง : รศ.ดร.อรุณศรี ปรีเปรม อาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์) (เมล็ด)
3. ช่วยป้องกันและต่อต้านสารก่อมะเร็ง ช่วยเร่งการทำงานของตับให้ทำลายสารพิษได้มากขึ้น (เมล็ด)
4. เมล็ดพริกไทยมีฤทธิ์ในการช่วยกระตุ้นประสาท (เมล็ด)
5. ช่วยแก้โรคลมบ้าหมูหรือลมชักได้ (เมล็ด)
6. ช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย (เมล็ด)
7. ช่วยทำให้เจริญอาหาร ทำให้ลิ้นของผู้สูงอายุรับรสได้ดียิ่งขึ้น
8. ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ (เมล็ด)
9. ช่วยเพิ่มความอบอุ่นให้กับร่างกายและเสริมภูมิต้านทานไปด้วยในตัว (เมล็ด)
10. ช่วยแก้ตาแดงเนื่องจากความดันโลหิตสูง(ดอก)
11. ช่วยระงับอาเจียน (ดอก)
12. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้พริกไทย พริกหาง นำมาบดเป็นผงผสมยาขี้ผึ้ง แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ นำมาใช้อุดฟันตรงบริเวณที่ปวด (เมล็ด)
13. ช่วยขับเสมหะ เปิดคอให้โล่งขึ้น (เมล็ด)
14. ช่วยแก้เสมหะในทรวงอก แก้ลมพรรดึก (เถา)
15. ช่วยบรรเทาอาการและแก้อาการไอ หอบหืด สะอึก (เมล็ด)
16. ช่วยแก้อติสารหรืออาการลงแดง (เถา)
17. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ (ราก)
18. ช่วยแก้หวัดและลดไข้ (เมล็ด)
19. ช่วยแก้ไข้เรื้อรัง ด้วยการใช้พริกไทยดำ ใบบัวบกแห้ง ใบกะเพราแห้ง อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาบดเป็นผง ปั้นเป็นเม็ดเล็ก ๆ กินครั้งละ 1 เม็ด เช้าและเย็น
20. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต ช่วยเพิ่มการสูบฉีดโลหิตเข้าใจ (เมล็ด)
21. พริกไทยดำสามารถช่วยละลายลิ่มเลือดและลดการจับตัวเป็นก้อนได้ (อ้างอิง : The central food technological research institute)
22. ช่วยกระตุ้นการขับเหงื่อออกจากร่างกาย เมื่อเหงื่อระเหยออกจากผิวแล้ว จะช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกเย็นสบายมากยิ่งขึ้น (เมล็ด)
23. พริกไทยดําช่วยรักษาโรคกระเพาะและลำไส้
24. ช่วยแก้อาการปวดมวนท้อง (ใบ, ราก)
25. ช่วยรักษาอาการท้องร่วงอย่างรุนแรงและท้องเดินหลาย ๆ ครั้ง (เถา)
26. ช่วยลดการเกิดก๊าซในระบบทางเดินอาหาร จึงช่วยแก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ (ใบ, เมล็ด)
27. ช่วยแก้ลมอัมพฤกษ์ ขับลมในกระเพาะ (ใบ,เมล็ด,ราก)
28. ช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำลายและน้ำย่อยในกระเพาะ ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการอาหารไม่ย่อย ช่วยย่อยสารพิษตกค้างที่ไม่สามารถย่อยได้ (เมล็ด, ราก)
29. ช่วยทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น (ดอก)
30. ช่วยบรรเทาหรือผ่อนคลายอาการไม่สบายจากอาหารเป็นพิษจากอาหารทะเลและเนื้อสัตว์ต่าง ๆ (ดอก)
31. ช่วยขับปัสสาวะ (เมล็ด)
32. ช่วยแก้ระดูขาว (เมล็ด)
33. ช่วยแก้อาการอักเสบและโรคอื่น ๆ (พริกไทยดำ)
34. แก้ตะขาบกัด ด้วยการใช้ผงพริกไทยโรยบริเวณแผลที่ถูกกัด (เมล็ด)
35. ช่วยรักษาอาการเมื่อยขบ เป็นเหน็บชาง่ายในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว โดยใช้พริกไทย น้ำกะทิ และไข่ไก่ ตีให้เข้ากันแล้วตุ๋นจนสุก และนำพริกไทยขาวเข้าเครื่องยากับเปลือกไข่ไก่ นำไปผิงไฟให้เหลือง แล้วนำมาบดเป็นผงผสมกับน้ำต้มสุก และยังช่วยรักษาอาการชักจากการขาดแคลเซียมได้อีกด้วย
36. รักษากระดูกหัก ด้วยการใช้พริกไทย 5 เมล็ด เปลือกต้นของสบู่ขาว และต้นส้มกบ นำมาตำผสมเหล้าขาวแล้วผัดให้อุ่น พอกให้หนา และใช้ไม้พันผ้าให้แน่น
37. ใช้ทำเป็นยาแก้ผอมแห้งแรงน้อย ด้วยการใช้พริกไทยขาว ข้าวสารคั่วเกลือทะเล อย่างละเท่า ๆ กัน นำมาบดจนเป็นผงและปั้นผสมกับน้ำผึ้ง ขนาดเท่าเมล็ดพุทรา รับประทานก่อนอาหารเช้า เย็น และก่อนนอน ครั้งละ 1 เม็ด จะช่วยทำให้สุขภาพอนามัยดีขึ้นภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน
38. พริกไทยเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับคุณแม่มือใหม่ เพราะช่วยทำให้น้ำนมของแม่เพิ่มขึ้น (อ้างอิง : ภญ.ผกากรอง ขวัญข้าว เภสัชกรระดับ 6 รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร)
39. พริกไทยเป็นอาหารที่เหมาะอย่างมากสำหรับคนธาตุเจ้าเรือนเป็นธาตุลม (พฤษภาคม-กรกฎาคม) ซึ่งจะช่วยป้องกันการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้
40. ช่วยทำให้ผิวสวย ด้วยการใช้พริกไทย ขมิ้นอ้อย กระชาย แห้วหมู นำมาทุบแล้วดองด้วยน้ำผึ้ง นำมารับประทานก่อนนอนทุกวัน จะช่วยทำให้ผิวสวยใสมากยิ่งขึ้น
41. พริกไทยมีวิตามินซีสูง ช่วยปกป้องผิวจากการถูกคุกคามจากแสงแดด
42. ช่วยป้องกันการหลับใน เมื่อขับรถเหนื่อย ๆ หรือง่วงนอน การได้กลิ่นของพริกไทยจะช่วยทำให้รู้สึกตื่นตัวมากยิ่งขึ้น
43. น้ำมันพริกไทยสามารถช่วยลดน้ำหนักตัวได้ และยังสามารถใช้นวดส่วนที่ต้องการลดได้
44. สูตรสมุนไพรหลายชนิดที่นิยมนำมาปรุงเป็นยาอายุวัฒนะ มักมีพริกไทยรวมอยู่ด้วย
45. พริกไทยดำมีสรรพคุณช่วยต่อต้านความอ้วน เพราะมีสารพิเพอรีนที่มีรสฉุนและเผ็ดร้อน จึงช่วยขัดขวางไม่ให้เซลล์ไขมันใหม่ก่อตัวขึ้น
46. เมล็ดพริกไทยดำและพริกไทยขาว นิยมนำมาใช้ทำเป็นเครื่องเทศเพื่อใช้แต่งกลิ่นอาหาร ทำให้อาหารน่ารับประทานมากยิ่งขึ้น (เมล็ดพริกไทย)
47. พริกไทยอ่อนช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์ในอาหารได้ เช่น ผักเผ็ดปลาดุก ผัดเผ็ดหมูป่า
48. พริกไทยช่วยถนอมอาหารประเภทเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ให้เก็บไว้ได้นานยิ่งขึ้น
49. น้ำมันหอมระเหยจากพริกไทยช่วยรักษาผู้ที่ติดบุหรี่ โดยจะช่วยลดความอยากและลดความหงุดหงิดลงได้
50. ในปัจจุบันพริกไทยดำได้ถูกนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย (Black pepper oil) ซึ่งมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ต้านพิษต่าง ๆ ช่วยทำให้เจริญอาหาร แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยในการย่อยอาหาร รักษาโรคกระเพาะ ใช้เป็นยาระบาย ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก ช่วยกระตุ้นกำหนัด ขับเหงื่อ ลดไข้ และช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท (น้ำมันพริกไทย)
เอกสารอ้างอิง
1. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย. (วิทยา บุญวรพัฒน์). “โกฐเขมา”. หน้า 102.
2. หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล). “โกฐเขมา Atractylis”. หน้า 217.
3. ฐานข้อมูลเครื่องยาสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. “โกฐเขมา”. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : www.thaicrudedrug.com. [11 มิ.ย. 2015].
4. บทที่ 3 ศักยภาพการปลูกพืชสมุนไพรจีนในประเทศไทย. (สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร). “โกฐเขมา”. หน้า 51-54.
5. เพจบ้านสุขภาพดี คลินิกแพทย์แผนไทย. “โกฐเขมา: Cangzhu (苍术)”.
ภาพประกอบ : www.flickr.com (by qooh88), www.thaicrudedrug.com (by Sudarat Homhual)