ถั่งเช่าทิเบต

ถั่งเช่าทิเบต

ถั่งเช่าทิเบตคืออะไร หลายคนคงเคยสงสัย เพราะได้ยินแต่ชื่อ แต่ไม่รู้ว่าจริงๆแล้วเป็นอย่างไร 

สวัสดีครับ เป็นอีกคำถามที่สงสัยกันเหลือเกินว่า ถั่งเช่าทิเบต ถั่งเช่าสีทอง และถั่งเช่าที่ขายกันอยู่นั้นเป็นอย่างไร วันนี้เรามาทำความรู้จัก ถั่งเช่าทิเบตกันอย่างลึกซึ้งกันดีกว่าครับ

ชื่อสามัญ    ถั่งเช่า, ถั่งเช่าทิเบต

ไทย            ถั่งเช่า, ถั่งเช่าแท้, ถั่งเฉ้า, ตั้งถั่งเช่า,หนอนเทวดา,หนอนพิสดาร, หญ้าหนอน, หนาวเป็นหนอน ร้อนเป็นหญ้า (Worm in winter and grass in summer)

อังกฤษ       Cordyceps mushroom,
                   Caterpillar fungus 

จีน               Hia tsao tong tchong,
                    Dong chong xia cao (Chongcao)
ญี่ปุ่น           Totsu kasu, Tochukasu

ทิเบต           ยาร์ซากุงบู (Yarsa gumba แปลว่า
                     Summer herb winter worm), Tsa daji

ภูฎาน          Yartsa guenboob

เนปาล          Keera jhar, Jeevan buti, Keeda ghass,
                     Chyou kira, Sanjeevani bhooti

อินเดีย          Keera jari

ภาษาคะฉิ่น    ตั้งไถ่รู่ (Tung tai ru; Tung แปลว่า
                       หนอน Tai แปลว่า คือ Rน แปลว่า สมุนไพรที่มีชีวิต)

ที่มา: ธัญญา (2553); Panda and Swain (2011)


ชื่อวิทยาศาสตร์

Ophiocordyceps sinensis (Berk.)

Synonyms (MycoBank) Sphaeria sinensis Berk. (1843)

Cordyceps sinensis (Berk.) Sacc. (1878)

Anomorphs 

Cephalosporium dongchongxiacao, Cephalosporium

sinensis, Chrysosporium sinense, Hirsutella sinensis,

Mortierella hepiali, Paecilomyces hepiali, Scytalidium

sp., Scytalidium hepiali, Tolypocladium sinensis


เริ่มแรกชื่อ Species นี้ถูกตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์โดย Miles Berkeley ในปี ค.ศ. 1843 ว่า Sphaeria sinensis ต่อมา Pier Andrea Saccardo ได้ เปลี่ยนไปเป็นสกุล Cordyceps ในปี 1878 ชื่อวิทยาศาสตร์ของเห็ดตัวนี้ ชื่อ Cordyceps sinensis มาจนกระทั่งปี ค.ศ. 2007 มีการนําการวิเคราะห์ ทางโมเลกุลมาใช้ในการตรวจการจัดหมวดหมู่ มีการตั้งชื่อสกุลใหม่ว่า Ophiocordycipitaceae และโอนสายพันธุ์ Cordyceps หลายตัวไปอยู่ใน สกุลนี้ ปัจจุบันนี้ชื่อวิทยาศาสตร์ของถั่งเช่าทิเบต คือ Ophiocordyceps Sinensis (Sung et al., 2007)


ทิเบต

จำหน่ายถั่งเช่าสีทองเกรด A 100%| จำหน่ายถั่งเช่าไลน์ไอดี @cordylanna
เพิ่มเพื่อน

ประะวัติและสรรพคุณ ของเห็ดถั่งเช่าทิเบต

เห็ดถั่งเช่าทิเบต หรือถั่งเช่าแท้ จัดว่ามีชื่อเสียงและ มีค่ามากที่สุดในบรรดาราแมลงในสกุลถั่งเช่า ได้รับการ ยอมรับว่าเป็น “สมบัติแห่งชาติอันทรงคุณค่าของสาธารณรัฐ ประชาชนจีน” เห็ดชนิดนี้จะเจริญเติบโตจากตัวอ่อนของ ผีเสื้อกลางคืนที่อยู่บนเทือกเขาหิมาลัยที่มีความสูงกว่า 3,500 เมตรจากระดับน้ําทะเลเท่านั้น ชาวเอเชียนิยมรับ ประทานเป็นยาสมุนไพรมาเป็นระยะเวลายาวนานเป็น พันปี เชื่อว่ามีสรรพคุณช่วยเสริมสร้างร่างกาย และใช้เป็น ยารักษาได้สารพัดโรค การใช้เห็ดถั่งเช่ามีต้นกําเนิดในเขต ปกครองตนเองทิเบต สรรพคุณของถั่งเช่าถูกค้นพบอย่าง บังเอิญ เล่ากันว่า สมัยโบราณคนเลี้ยงสัตว์บนที่ราบสูง ทิเบตสังเกตเห็นว่า สัตว์ที่เลี้ยงไปกินเห็ดดอกเล็ก ๆ ที่มี ลักษณะคล้ายใบหญ้าเข้าไปแล้วมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็น โรค และในสัตว์ตัวที่มีอายุมาก พบว่ามีท่าทางกระฉับกระเฉง เหมือนเป็นหนุ่มสาว จึงเก็บมากินบ้าง หลังจากทานแล้ว พบว่าดีต่อสุขภาพ จัดเป็นยาบํารุงชั้นเลิศที่ร่าลือกันไป ทั่ว มีการบันทึกอยู่ในตํารับยาแผนโบราณของชาวทิเบต (Winkler, 2008) ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์บันทึก

ไว้ว่า มีการใช้เป็นยามาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถังของจีน (ประมาณ ค.ศ. 618 – 907) ด้วยความที่เห็ดชนิดนี้หาได้ ยาก และพบได้เฉพาะเทือกเขาหิมาลัยเท่านั้นจึงทําให้มี ราคาที่สูงมาก และถูกจํากัดการใช้เฉพาะจักรพรรดิและ เชื้อพระวงศ์ของจีนเท่านั้น คนธรรมดาสามัญไม่มีสิทธิ์ บริโภค ถือเป็นของที่หายาก และมีค่าดั่งทอง เห็ดถั่งเช่า ทิเบตเริ่มเป็นที่รู้จักในโลกตะวันตก จากการที่หมอสอน ศาสนาได้นําตัวอย่างของเห็ดถั่งเช่าที่ได้รับจากองค์ จักรพรรดิจีนไปเข้าร่วมงานประชุมทางวิชาการในกรง ปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1726 ซึ่งถือเป็นการ แนะนําเห็ดถั่งเช่าต่อศาสตร์การแพทย์แผนตะวันตก อัน นํามาซึ่งงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มากมายถึงคุณประโยชน์ ของเห็ดถั่งเช่าต่อร่างกาย (Holiday and Cleaver, 2008)

ถั่งเช่าทิเบต

กระแสความนิยมของเห็ดถั่งเช่าเริ่มต้นที่ปี พ.ศ. 2536
เมื่อนักวิ่งหญิงทีมชาติจีน 3 คน สามารถทําลายสถิติโลก ในการวิ่งทางไกล 1,500 3,000 และ 10,000 เมตร ผู้ ฝึกสอนของจีนให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่าให้นักกีฬาทาน เห็ดถั่งเช่าเป็นยาบํารุง โดยทางคณะกรรมการโอลิมปิก สากลไม่มีข้อห้ามไว้ ตรวจไม่พบสารกระตุ้น และไม่มีผลข้างเคียง

เรื่องนี้เป็นข่าวดังไปทั่วโลก ถึงสรรพคุณอันเหลือเชื่อเกี่ยวกับเห็ด ถั่งเช่า (Halpem, 2007) อีกทั้งถั่งเช่า ยังได้รับการยกย่อง และถูกตั้งฉายา ว่าเป็น “ไวอากร้าแห่งเทือกเขาหิมาลัย” ทําให้เกิดการตื่นตัวในแง่ของงานวิจัย ถึงสรรพคุณต่าง ๆ ในถั่งเช่า ทั้งจาก ซีกโลกตะวันตกและตะวันออก (Tui et al., 2014)

เห็ดถั่งเช่าทิเบตมีรสหวาน อ่อน ๆ กลิ่นหอม เป็นที่รู้จักกันมาช้า นานว่าเป็นอาหารเสริมสุขภาพเพื่อ เพิ่มพลังงานชีวิต เห็ดถั่งเช่าทิเบตเป็น อาหารที่เป็นยาที่ปลอดภัยที่สุดชนิด หนึ่ง ยาแผนโบราณของจีนเชื่อว่าเห็ด ถั่งเช่าทิเบตช่วยหล่อเลี้ยงหยิน กระตุ้นหยางอย่างเช่น

ถั่งเช่าทิเบตได้ชื่อว่า “ไวอากร้าแห่งเทือกเขาหิมาลัย”

ปรับสมดุลของระบบ ภูมิคุ้มกัน (Kuo et al., 2007) ยับยั้ง การเติบโตของเนื้องอก (Nakamura et al., 2015) ช่วยให้คนไข้ที่ผ่านการ ฉายรังสีรักษามะเร็งฟื้นตัวได้ดี (Liu et al., 2008) ลดความดันโลหิต (Chioน et al., 2000) เพิ่มการเผา ผลาญพลังงานของตับ และการไหล เวียนของเลือด (Manabe et al., 2000) ปรับพลังงานชีวภาพในตับ (Dai et al., 2001)การหลั่งฮอร์โมน ต่อมหมวกไต (Wang et al., 1998) บํารุงไตและปอดลดความวิตกกังวล ลดภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ โรคหัวใจ ลดไขมันในเส้นเลือด (Zhu et al., 1998) ช่วยแก้ไขความผิดปกติทาง เพศและระบบสืบพันธุ์ (Chen et al., 2017) เสริมสมรรถนะเพศชาย (Lin et al., 2007) และชะลอความชรา

ส่วนประกอบสำคัญของเห็ดถั่งเช่าทิเบต

ส่วนประกอบ ปริมาณ
น้ํา (Water) 10.84 %
ไขมัน (Fat) 8.40 %
โปรตีนโดยรวม (Crude protein) 25.32 %
เยื่อใยโดยรวม (Crude fiber) 18.53%
คาร์โบไฮเดรต (Carbodydrate) 28.90%
ดี-แมนนิทอล (D-mannitol) 76.810 มิลลิกรัมต่อกรัม
โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) 11.20%
โปรตีน (Protein) 25.44%
วิตามินเอ (Vitamin A) 0.315 มิลลิกรัมต่อกรัม
วิตามิน บี 12 (Vitamin B 12) 0.020 มิลลิกรัมต่อกรัม
สังกะสี (Zinc) 13.900 ไมโครกรัมต่อกรัม
ทองแดง (Copper) 2.800 ไมโครกรัมต่อกรัม

ที่มา: ดัดแปลงจาก China Science Institute Shimyang Edible Center


เปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารในผงเส้นใยถั่งเช่าทิเบต ที่เพาะด้วยอาหารวิทยาศาสตร์และดอกเห็ดถั่งเช่าทิเบต

ชื่อธาตุ ผงเส้นใยเห็ด(มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ดอกเห็ด(มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม)
โปแตสเซียม (K) 11,500 3,975
ฟอสฟอรัส (P) 3,600 3,671
โซเดียม (Na) 310 547
แมกนีเซียม (Mg) 2,700 1,813
แคลเซียม (Ca) 800 1,656
อะลูมิเนียม (AL) 169 7,664
โบรอน (B) 15.4 7.79
โมลิบดีนัม (Mo) 0.3 -
แคดเมียม (Cd) 0.22 0.051
ตะกั่ว (Pb) 0.2 0.36
เหล็ก (Fe) 205 3,136
ทองแดง (Cu) 8.86 2.8
สังกะสี (Zn) 152 13.9
แมงกานีส (Mn) 45.6 39.2
ซิลิกอน (S) 54.3 -
โคบอลต์ (Co) 0.21 1,097
นิกเกิล (Ni) 2.05 3.76
ซีลีเนียม (Se) 0.52 0.34
วาเนเดียม (V) 1.10 11.82
โครเมียม (Cr) 0.97 4.42

ที่มา Zhou et al. (2009)

เห็ดถั่งเช่าทิเบตประกอบไปด้วยธาตุต่างๆ มากมายดังแสดงตารางที่ 2.3 ธาตุสังกะสี แมกนีเซียม และแมงกานีสมีความสําคัญอย่างมากต่อการพัฒนา และบํารุงรักษาอวัยวะสืบพันธุ์ บํารุงไต โดย Zhou et al. (2009) รายงานว่า ผงเส้นใยเห็ดถั่งเช่าทิเบตที่เพาะด้วยอาหารวิทยาศาสตร์มีปริมาณธาตุมากกว่า ในดอกเห็ดถั่งเช่าทิเบต แต่อย่างไรก็ตามสารประกอบในเห็ดถั่งเช่าขึ้นอยู่กับ หลายปัจจัย เช่น สายพันธุ์ วิธีการเพาะเลี้ยง และการเก็บผลผลิต เป็นต้น


ถั่งเช่าทิเบต

การเกิดและ ลักษณะการเจริญของถั่งเช่าทิเบต
เห็ดถั่งเช่าทิเบตเป็นเห็ดที่ขึ้น ค่อนข้างเฉพาะเจาะจงกับตัวหนอน ผีเสื้อค้างคาว หรือผีเสื้อหัวกะโหลก [Bat moth vša ghost moth: Thitarodes (Hepialus)] ซึ่งอยู่ตามที่ราบสูงแถบภูเขาหิมาลัยในทิเบต เนปาล ภูฏาน อินเดีย และจีน ความ สูงระหว่าง 3,000 – 5,000 เมตรเหนือ ระดับน้ําทะเลปกติวงจรชีวิตของหนอน ผีเสื้อชนิดนี้จะใช้เวลา 5 – 7 ปี ก่อนที่ พัฒนาสมบูรณ์จนเป็นผีเสื้อเต็มวัย (Winkler, 2008)

การเกิดขึ้นของเห็ดถั่งเช่าทิเบต เข้าใจกันว่า ช่วงฤดูหนาวหนอนผีเสื้อ ขุดรูลงไปอยู่ใต้ดินเพื่อหลบอากาศ หนาวเย็น ได้รับเชื้อราจากสภาพแวดล้อม หรือจากการที่ตัวหนอนกินอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อราเข้าไป เชื้อจะเจริญภายในตัวหนอน ทําให้หนอนตาย โดยผิวนอกลําตัวของ หนอนยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์ ที่เห็นตัวมันเป็นหนอนนั้นเป็นเฉพาะ เปลือกภายนอกเท่านั้น ข้างในตัว หนอนจะถูกอัดแน่นไปด้วยเส้นใย ของเห็ด เมื่ออากาศอบอุ่นขึ้นเส้นใย ของเห็ดในตัวหนอนจะรวมตัวกัน เป็นดอกคล้าย ๆ ต้นหญ้างอกออก มาต้นหนึ่งตรงที่ส่วนหัวของหนอน รูปลักษณะภายนอกคล้ายไม้กระบอกยาวประมาณ 5 – 10 เซนติเมตร (ธัญญา, 2553) ส่วนตัวหนอนคงอยู่ ในลักษณะของหนอนตายซากอยู่ เช่นนั้น

เห็ดถั่งเช่าทิเบตที่ใช้ทําเป็น ยาคือตัวหนอนและเห็ดที่แห้งแล้วนั่นเอง ในสมัยราชวงศ์ชิงมีคนเข้าใจผิดว่าสมุนไพรชนิดนี้ว่าในฤดูหนาว จะเป็นหนอนแต่เมื่อถึงฤดูร้อนมันจะกลายเป็นต้นหญ้า และหากไม่ถูกเก็บไปเสียก่อนเมื่อถึงฤดูหนาวอีก คราวมันจะกลับกลายเป็นหนอนอีก ดังนั้นจึงถูกเรียกสั้น ๆ ว่า “ฉงเฉ่า” หรือ “หนอนหญ้า” การเก็บเห็ดถัง เช่าจะเก็บในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ เมื่อขุดเก็บตัวหญ้าหนอนขึ้นจากดินแล้ว ต้องทําความสะอาดทันทีนําไปตาก ให้แห้งสนิทเพื่อจะเก็บไว้ได้นาน ควรเก็บไว้ในที่แห้ง ระวังอย่าให้ชื้น (ศรานนท์, 2537)

เห็ดถั่งเช่าทิเบตที่ใช้ทําเป็น ยาคือตัวหนอนและเห็ดที่แห้งแล้วนั่นเอง

ถั่งเช่าทิเบต
ถั่งเช่าทิเบต

 

 

วงจรชีวิตของถั่งเช่าทิเบต

วงจรชีวิตของถั่งเช่าทิเบต

การเก็บถั่งเช่าทิเบต

 

ราคาของเห็ดถั่งเช่าทิเบต

เห็ดถั่งเช่าทิเบตมีขนาดเล็ก ขึ้นเฉพาะเจาะจงกับแมลงและสภาพ แวดล้อมที่จํากัดอยู่กลมกลืนกับธรรมชาติจึงหายาก ต้องอาศัยความชํานาญและประสบการณ์ในการค้นหา ประกอบกับกลไกทางการตลาดที่มี ความต้องการสูง ทําให้ราคาของเห็ด ถังเช่าทิเบตถีบตัวสูงขึ้นมีราคาแพง มากจนได้สมญานามว่าเป็น “ทองคํา แห่งสมุนไพรจีน” โดยในปี พ.ศ. 2523 เห็ดถั่งเช่ามีราคา 1,800 หยวนต่อ กิโลกรัม และเพิ่มขึ้นเป็น 8,400 หยวน ต่อกิโลกรัมในปี พ.ศ. 2540 ต่อมาปี พ.ศ. 2547 ราคาเพิ่มเป็น 36,000 หยวนต่อกิโลกรัม และ 10,000 – 60,000 หยวนต่อกิโลกรัมในปี พ.ศ. 2548 (Mishra and Upadhyay, 2011) ปี พ.ศ. 2554 ผู้เขียนซื้อถั่งเช่า ทิเบตที่เขตปกครองตนเองทิเบต ราคา 150,000 – 200,000 หยวนต่อกิโลกรัม (เงิน 1 หยวน = 5 บาท) ราคาเห็ดถั่ง เช่าในระยะเวลา 30 กว่าปีมานี้เพิ่ม ขึ้นจากเดิมหลายร้อยเท่าตัว รัฐบาล ทุกประเทศที่เป็นแหล่งกําเนิดของเห็ด ถั่งเช่าทิเบตควบคุมการเก็บเกี่ยว ถั่งเช่าธรรมชาติที่มีอยู่น้อยมาก มีการเก็บค่าธรรมเนียมเข้ารัฐ ถั่งเช่าที่เก็บ ได้ส่วนใหญ่จะมีนายหน้ามาซื้อ แล้ว ส่งไปขายที่ฮ่องกงซึ่งเป็นตลาดกลาง ของสินค้าจําพวกสมุนไพรในเอเชีย

ถั่งเช่าทิเบตเป็นแหล่งรายได้ หลักของเกษตรกรในท้องถิ่น ชาวจีน กว่าสามแสนคนในท้องถิ่นอาศัยการ รวบรวม และการขายเห็ดถั่งเช่าทิเบต ประทังชีวิต ร้อยละ 80 ของครอบครัว ในพื้นที่แหล่งกําเนิดเห็ดได้เก็บเห็ด ถั่งเช่าทิเบตตามธรรมชาติ และมีราย ได้จากการขายเห็ดนี้คิดเป็น 50 – 80 เปอร์เซ็นต์ ของรายได้โดยรวม (Ma,2010)

ราคาของถั่งเช่าทิเบตขึ้นกับขนาด และคุณภาพ ยิ่งตัวใหญ่ราคายิ่งสูง ราคาขายมีตั้งแต่กิโลกรัมละ 300,000 บาทถึงกิโลกรัมละ 1,5000,000 บาท แน่นอนว่าราคาสูงขนาดนี้ย่อมต้องมี ของปลอม เห็ดถั่งเช่าที่ขายที่ฮ่องกง และสิงคโปร์ ส่วนใหญ่เป็นของปลอม มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ หากไม่ปลอม ก็จะมีการยัดไส้ (ไม้จิ้มฟัน หรือลวด) หรือฉีดผงแร่เข้าไปเพื่อทําให้ตัวหนอน มีน้ําหนักมากขึ้น (Holiday and Cleaver, 2008) มีรายงานว่าที่ สาธารณรัฐประชาชนจีนและไต้หวัน ผู้ที่บริโภคเห็ดถั่งเช่าทิเบตได้รับสาร พิษ มีการปนเปื้อนโลหะหนักและสาร ตะกั่ว (Wuet al., 1996) ถั่งเช่าทิเบต แท้จะต้องมีขา 8 คู่

ราคาขายถั่งเช่าทิเบตมีตั้งแต่กิโลกรัมละ 300,000 บาทถึงกิโลกรัมละ 1,5000,000 บาท *ข้อมูลปี 2008 ถึง 2010

 

การเพาะเลี้ยงถั่งเช่าทิเบต

การเพาะเลี้ยง นักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลกให้ ความสนใจที่จะทําการเพาะเห็ดเป็น ยากันอย่างกว้างขวางในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมานี้ในสาธารณรัฐประชาชน จีนมีหน่วยงานที่ทําการวิจัยเพาะ เห็ดถั่งเช่าทิเบต ศึกษาวิจัยสายพันธุ์

พัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงวิธีการสกัดสารออกฤทธิ์ และอื่น ๆโดยจีนและเกาหลีใต้สามารถเพาะเห็ดชนิดนี้ได้ ถังเช่าทิเบตส่วนมากเพาะในบริเวณ มณฑลชิงไห่ เขตซางโตวในเขตปกครองตนเองทิเบต นอกจากนี้ยังมี ในมณฑลเสฉวน ยูนนาน และกุ้ยโจว (Winkler, 2008) โดยการเพาะ ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนจะทําการเพาะเส้นใยบริสุทธิ์ในอาหาร ทางตะวันตกจะเพาะด้วยธัญพืช
ความนิยมของเห็ดถั่งเช่าทิเบตทําให้เกิดการวิจัยและพัฒนาราแมลงใน กลุ่มเดียวกันโดยในจีน เกาหลีและญี่ปุ่น นําราแมลง Isaria tenuipes ที่พบ บนหนอนผีเสื้อ มาเพาะเลี้ยงโดยใช้หนอนไหมเป็นแมลงเจ้าบ้าน จากนั้นนํามาอบแห้ง บดแล้วบรรจุในแคปซูลเพื่อจําหน่าย พร้อมแจ้งสรรพคุณว่าเหนือกว่า ถั่งเช่าทิเบต แต่ก็ไม่ได้รับความนิยม อาจเป็นเพราะจุดเด่นความเป็นธรรมชาติ ของถังเช่าทิเบตมัดใจผู้บริโภคไว้อย่างเหนียวแน่น (สาลินีย์, 2552) ทุกวันนี้ สารสกัดเห็ดสกุลถังเช่าเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายยี่ห้อ ขายดีในอเมริกา และยุโรปราคาสูงมาก

การเพาะ Hirsutella sinensis ซึ่งเป็นช่วงไม่มีเพศ (Anamorph) ของเห็ดถั่งเช่าทิเบต (0. Sinensis) ด้วยการทําให้ดักแด้ของผีเสื้อหัวกะโหลกติด เชื้อนั้นเกิดขึ้นได้ค่อนข้างต่ำมาก และหากเกิดการติดเชื้อก็จะผลิตดอกเห็ดได้น้อยมาก อัตราความสําเร็จที่จะเกิดดอกเห็ดงอกออกมาจากดักแด้ต่ำกว่า 1 ต่อ 1,000 ส่วน (Zhou et al., 2014) ผู้เขียนได้ทําการแยกเชื้อจากเห็ดถั่งเช่า ทิเบตจากธรรมชาติ ได้เชื้อราออกมามากกว่า 20 ชนิด บางชนิดเป็นช่วงไม่มี เพศของถังเช่าทิเบต เช่น Poecitomyces hepiali, Poecitomyces sinensis และ Hirsutiella sinenensis เป็นต้น โดยบางชนิดจะเป็นราที่อยู่ภายใน ลําตัว (Endophyte) ของหนอน และบางชนิดอาจจะเป็นเชื้อปนเปื้อน เชื่อที่ ยังไม่มีการศึกษาชี้บ่งถึงความสัมพันธ์กับเชื้อ 0 Sinensis จะจัดเป็นเชื้อราที่ ขึ้นจากเห็ดสกุลถังเช่า (Cordyceps Colonizing fungus) ที่สําคัญ เช่น Tolypocladium, Isaria farinosa และ Opiococcum nigrum เป็นต้น

เห็ดถั่งเช่าทิเบตมีขั้นตอนการเพาะให้เกิดดอกเห็ดค่อนข้างยุ่งยาก

เห็ดถั่งเช่าทิเบตมีขั้นตอนการเพาะให้เกิดดอกเห็ดค่อนข้างยุ่งยาก และต้องการอากาศเย็นมาก เห็ดในตระกูลคอร์ไดเซพนั้นมีมากมายหลายสายพันธุ์ มีหลายชนิดที่สามารถเพาะได้ด้วยกรรมวิธีเพาะง่าย ๆ ไม่ต่างไปจากการเพาะ เห็ดทั่ว ๆ ไป หนึ่งในนั้นคือ เห็ดถั่งเช่าสีทอง ซึ่งเป็นเห็ดตระกูลเดียวกับเห็ด ถั่งเช่าทิเบต แต่คนละสายพันธุ์ เป็นเห็ดที่พบอยู่ทั่วไปในระดับที่มีอุณหภูมิระหว่าง 10-28 องศาเซลเซียส เป็นเห็ดที่ได้มีการวิเคราะห์ว่า มีส่วนประกอบของสารอาหารวิตามิน เกลือแร่ และยาหลายชนิดสูงกว่าถังเช่าทิเบต Institute of China Academy of Traditional Chinese Medicine ได้ทดสอบองค์ ประกอบของเห็ดถั่งเช่าทิเบตและเห็ดถั่งเช่าสีทอง พบว่า องค์ประกอบทางเคมี ของเห็ดทั้งชนิดมีพื้นฐานที่เหมือนกัน แต่ปริมาณสารออกฤทธิ์พิเศษบางตัวใน เห็ดถั่งเช่าสีทองมีมากกว่าเห็ดถั่งเช่าทิเบต เช่น สารอะดีโนซีน ในเห็ดถั่งเช่า สีทองมีมากกว่าเห็ดถั่งเช่าทิเบต 34 เท่า และปริมาณนิวคลีโอไซต์ทั้งหมดใน เห็ดถั่งเช่าสีทองจะมากกว่าเห็ดถั่งเช่าทิเบต 5.25 เท่า (อ้างตาม Li et al.. 2015) ซึ่งสอดคล้องกับ Huang et al. (2009) รายงานว่า ปริมาณสาร อะดีโนซีน และคอร์ไดเซปินในดอกเห็ดถั่งเช่าสีทองสูงกว่าเห็ดถั่งเช่าทิเบต ในขณะที่ใน เส้นใยเห็ดถั่งเช่าสีทองมีปริมาณสารคอร์ไดเซปินและอะดีโนซีนใกล้เคียงกับ เห็ดถั่งเช่าทิเบต นอกจากนี้แล้ว อาหารเพาะเลี้ยงเห็ดมีผลต่อการสะสมของ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพในเห็ดถั่งเช่า จากการวิเคราะห์ดอกเห็ดถั่งเช่าสีทอง ที่เพาะด้วยข้าวพบปริมาณสารคอร์ไดเซปินและอะดีโนซีนสูงกว่าที่เพาะด้วย หนอนไหมและข้าวสาลี และจากการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณคอร์ไดเซปิน ซึ่งเป็นสารออกฤทธิ์ที่สําคัญในเห็ดถั่งเช่าธิเบตและเห็ดถั่งเช่าสีทองจํานวน 239 ตัวอย่าง พบว่า คอร์ไดเซปินในเห็ดถั่งเช่าสีทองมีค่าสูงกว่าเห็ดถั่งเช่าทิเบตถึง 100 – 1,000 เท่า (ธัญญา และคณะ, 2557) ดังแสดงในภาพโครมาโตแกรม หน้า 33
แต่อย่างไรก็ตาม แต่คนส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อกันว่าเห็ดถั่งเช่าสีทองมี สรรพคุณทางด้านการบํารุงกําลังและผลของการกระตุ้นสมรรถภาพทางเพศ น้อยกว่าเห็ดถั่งเช่าทิเบต

เปรียบเทียบสาร cordycepin พบว่า สาร cordycepin พบในถั่งเช่าสีทอง มากกว่าถั่งเช่าทิเบต

สาร cordycepin คืออะไร https://cordyl.com/สาร-cordycepin-ในถั่งเช่าคืออะไร/

การทำถั่งเช่าปลอม

การปลอมถั่งเช่าทิเบต

 


สรรพคุณของถั่งเช่า  https://cordyl.com/สรรพคุณของถั่งเช่า/

การเกิดของถั่งเช่าทิเบต อ่านที่นี่ครับ  https://cordyl.com/สายพันธุ์ของถั่งเช่า/

ถั่งเช่าสีทอง เป็นอย่างไร https://cordyl.com/ถั่งเช่าสีทอง-2/

ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ การเพาะเห็ดถั่งเช่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา ทะพิงค์แก

5/5 (20)

หากบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกันให้คะแนนด้วยนะคะ