10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับถั่งเช่า


10 ข้อควรรู้เกี่ยวกับถั่งเช่า

สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาสรุป 10 ข้อที่ควรรู้เกี่ยวกับถั่งเช่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ที่คิดจะเลือกทานถั่งเช่า น่าจะต้องรู้ไว้บ้างน่ะครับ Continue reading

4.67/5 (3)

หากบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกันให้คะแนนด้วยนะคะ

ถั่งเช่ากับโรคเบาหวาน

ถั่งเช่ากับโรคเบาหวาน
หลายคนคงเคยได้ยินสรรพคุณถั่งเช่าเกี่ยวกับการบำบัดดูแล และรักษาโรคเบาหวานกันมาบ้าง

Continue reading

4.7/5 (10)

หากบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกันให้คะแนนด้วยนะคะ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับถั่งเช่า

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับถั่งเช่า

Q. เป็นเบาหวานทานถั่งเช่าได้หรือไม่
A. เป็นเบาหวานสามารถทานถั่งเช่าได้ตามปกติ ครับ แต่แนะนำให้ทานช่วงเช้า ไม่ควรทานก่อนนอน เพราะเกรงว่าระดับน้ำตาลจะลดในช่วงนอน
สามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเบาหวานกับถั่งเช่าได้ที่นี่ 

Continue reading

5/5 (2)

หากบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกันให้คะแนนด้วยนะคะ

ข้อแนะนำการทานถั่งเช่าแบบแคปซูล

ข้อแนะนำการทานถั่งเช่าแบบแคปซูล

สำหรับท่านที่ทานเพื่อบำรุงสุขภาพ
* ทานวันละ 2 แคปซูล รับประทานก่อนอาหารเช้า 1 แคปซูลและหลังอาหารเย็น 2 ชั่วโมง 1 เม็ด

* การทานก่อนนอนเป็นการช่วยให้หลับลึกและหลับง่ายมากขึ้นContinue reading

4.5/5 (4)

หากบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกันให้คะแนนด้วยนะคะ

5 โรคที่แนะนำให้ทานถั่งเช่า

5 โรคที่แนะนำให้ทานถั่งเช่า

ถั่งเช่าถือว่าเป็นสมุนไพร ที่สรรพคุณมากมายที่ช่วยบำรุงร่างกายมานานและเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง และมีสรรพคุณเด่นๆ ที่เราแนะนำ สำหรับคนที่ป่วยกด้วยโรคหรืออาการเหล่านี้ อาจจะทดลองหาถั่งเช่ามารับประทานดู ซึ่งอาจจะลดหรือช่วยให้อาการของท่านดีขึ้นก็เป็นได้

Continue reading

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้

หากบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกันให้คะแนนด้วยนะคะ

ถั่งเช่าดูแลผู้ป่วยโรคไต

ถั่งเช่าดูแลผู้ป่วยโรคไต

สำหรับผู้ป่วยไต ที่ต้องการใช้ถั่งเช่าในการดูแลสุขภาพ วันนี้เราจะมาดูกันครับว่า ถั่งเช่านั้นช่วยดูแลเรื่องไตอย่างไรบ้าง

ไตมีหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ

1. ขับถ่ายของเสียอันเกิดจากการเผาผลาญอาหาร ประเภทโปรตีน (มีมากในเนื้อสัตว์ และอาหารจำพวกถั่ว) ซึ่งของเสียประเภทนี้ ได้แก่ ยูเรีย ครีเอตินีน กรดยูริค และสารประกอบไนโตรเจนอื่น ๆ หากของเสียประเภทนี้คั่งอยู่ในร่างกายมาก ๆ จะเกิดอาการต่างๆ ซึ่งทางการแพทย์ เรียกภาวะดังกล่าวว่า ยูรีเมีย

2.ควบคุมปริมาณน้ำ และเกลือแร่.. น้ำและแร่ส่วนที่เกินจำเป็น จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ เกลือแร่ดังกล่าว ได้แก่ โซเดียม โปตัสเซียม แคลเซียม และ ฟอสฟอรัส เป็นต้น

3. ผลิต และควบคุม การทำงานของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณของแคลเซียม / ฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ดังนั้น หากไตมีความบกพร่องมากๆ ผู้ป่วยอาจมีโรคโลหิตจาง หรือกระดูกผุร่วมอยู่ด้วย

การขจัดของเสียจำพวกโปรตีน น้ำ และเกลือแร่ ที่ขาดสมดุล.. ผู้ป่วย. จะมีอาการบ่งชี้ แต่บางรายก็ไม่แสดงอาการดังนั้น วิธีที่จะทราบได้ คือ การตรวจเลือดและปัสสาวะทางห้องปฏิบัติการเท่านั้น

ทางเลือกในการเสริมโปรตีนให้แก่ร่างกาย ให้ใช้ไข่ขาวและปลา เป็นแหล่งอาหารและควรหลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์ ไขมันสัตว์ และกะทิ

* งดอาหารเค็ม ดื่มน้ำ เพียงแค่ พอดี
* งดผลไม้ ยกเว้นเช้าวันฟอกเลือด
* งดอาหารที่มีฟอสเฟตสูง เช่น เมล็ดพืช นมสด เนย ไข่แดง
* รับประทานวิตามินบีรวม , ซี และกรดโฟลิก รับประทานอาหารวิตามินดีชนิด 1-alpha hydrocylated form ตามแพทย์สั่ง หลีกเลี่ยงวิตามินเอ

โรคไตวายเรื้อรัง

โรคไตวายเรื้อรังมีหลายระยะ ระยะเริ่มแรกอาการจะน้อยมาก แต่เมื่อเป็นจนถึงระยะปานกลาง และระยะรุนแรง อาการจะเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาการจะเพิ่มพูนจนไปถึงไตวายระยะสุดท้าย อย่างรวดเร็ว ซึ่งการรักษาโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายนั้น นอกจากผู้ป่วยจะได้รับความทุกข์ทรมานแล้ว ยังเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก

ดังนั้นจึงควรชะลอ การดำเนินของโรคไตวายเรื้อรังด้วยการควบคุมอาหาร และการ บริโภคอาหารเสริม ที่มี งานวิจัย รองรับ เช่น สาร cordycepins และ adenosine ใน ถั่งเช่า

หากผู้ป่วย มีอาการบวม ถ่ายปัสสาวะน้อย หัวใจวาย น้ำท่วมปอด หรือมีความดันโลหิตสูง ควรให้ “กินอาหารจำกัดโซเดียม” หมายความว่าจะต้อง งดอาหารที่มีโซเดียมมาก

อาหารที่มีโซเดียมมาก ได้แก่ อาหารที่มีรสเค็ม เพราะมีโซเดียมคลอไรด์ ( เกลือ) มาก เช่น เกลือป่น เกลือเม็ด น้ำปลา น้ำบูดู ซอสหอย ซอสเนื้อ ซอสถั่ว ซีอิ๊ว รวมทั้ง ซอสที่มีรสอื่นนำ มีรสเค็มแฝง เช่น ซอสพริก (มีรสเปรี้ยว และเผ็ดนำ ความจริงมีรสเค็มด้วย) ซอสมะเขือเทศ ซอสรสเปรี้ยว ๆ เป็นต้น

* อาหารดองเค็ม เช่น เนื้อเค็ม กุ้งแห้ง กะปิ ผักดองเค็ม ผลไม้ดองเค็ม
* อาหารดองเปรี้ยว เช่น หลาเจ่า แหนม ไส้กรอกอีสาน หัวหอมดอง หน่อไม้ดอง ผัดกาดเขียวดองเปรียว ผักดองสามรส กระเทียมดองสามรส เป็นต้น
* อาหารที่มีรสหวาน และเค็มจัด เช่น ปลาหวาน กุ้งหวาน หมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียง ผลไม้แช่อิ่ม เป็นต้น

ข้อควรปฎิบัติสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไต

เนื่องจากโรคไต เป็นโรคที่เกี่ยวกับความผิดปกติในการขับของเสียออกจากร่างกาย ซึ่งของเสียในร่างกายเราส่วนใหญ่นั้นเกิดจากการกิน วันนี้เรามาดูกันว่า เราจะงดหรือดูแลอาหารการกินของเราอย่างไร เพื่อไม่ต้องให้ไตทำงานหนัก

ยาและสมุนไพรที่ควรระวังในผู้ป่วยโรคไต
คนทั่วไปมักเข้าใจว่ายาในกลุ่ม OTC (Over-the-Counter Drugs) หรือยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านยาเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายเบื้องต้น เช่น ยาแก้ไอ ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ปวดเมื่อย ยาระบายแก้ท้องผูก ยาแก้ท้องเสีย วิตามิน อาหารเสริม รวมถึงยาจีนและสมุนไพรต่างๆ เป็นยาที่ปลอดภัยเนื่องจากสามารถหาซื้อได้เองโดยไม่ต้องมีใบสั่งยา แต่ในความจริงแล้วยาเหล่านี้อาจสะสมในร่างกาย หรือทำให้เกิดอันตรายต่อไตในผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตได้
ยาแก้ปวดลดอักเสบ โดยเฉพาะกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ หรือที่เรียกกันว่า NSAIDs เช่น ibuprofen, mefenamic acid, naproxen, piroxicam, meloxicam, diclofenac, celecoxib, etoricoxib เป็นต้น ยามีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงไตลดลง ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้
ยาที่มีส่วนประกอบของโซเดียม ยาที่ต้องละลายน้ำ หรือวิตามินอื่นๆ เช่น ยาแอสไพรินชนิดเม็ดฟู่ วิตามินที่แพทย์ไม่ได้สั่งให้รับประทาน อาจทำให้ร่างกายมีภาวะโซเดียม น้ำ และเกลือแร่เกินในร่างกาย
ยาน้ำแก้ไอ ยาน้ำแก้ปวดท้อง ส่วนใหญ่มักมีส่วนผสมของสมุนไพร หากรับประทานต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจเกิดการสะสมของโพแทสเซียม
ยาระบายหรือยาลดกรดที่มีอะลูมิเนียมและแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดการสะสมของเกลือแร่ในร่างกาย เนื่องจากไตไม่สามารถนำเอาเกลือแร่เหล่านี้ออกจากร่างกายได้ตามปกติ
ยาระบายหรือยาสวนทวาร ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกิดการสะสมของฟอสเฟต
อาหารเสริมต่างๆ มักมีส่วนประกอบของโพแทสเซียมและแมกนีเซียมซึ่งทำให้เกิดการสะสมในร่างกายได้
สมุนไพร เช่น สารสกัดใบแปะก๊วย (Ginko biloba) โสม (ginseng) กระเทียม (garlic) ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้เกิดเลือดออกบริเวณเส้นเลือดที่ต่อกับเครื่องฟอกเลือดได้ง่าย ยาระบายที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ispaghula husk อาจทำให้มีการสะสมของโพแทสเซียมได้

ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลี่ยงสมุนไพร (ทั้งในรูปแบบแคปซูล ยาน้ำ ชาชง) ยาแผนโบราณ ยาจีนต่างๆ เนื่องจากทำให้โพแทสเซียมในเลือดสูง รวมทั้งยังไม่มีการศึกษาที่ยืนยันถึงประสิทธิภาพที่ชัดเจนในการชะลอการเสื่อมของไต ความไม่สม่ำเสมอของปริมาณสารที่สกัดได้ การปนเปื้อนของสารระหว่างกระบวนการสกัด เช่น ปรอท เชื้อรา อาจเกิดอันตรายต่อไตอย่างรุนแรงได้

ข้อควรปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคไต
ญาติ ผู้ดูแล และผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งถึงรายการยา รวมทั้งวิตามิน อาหารเสริม สมุนไพร ที่ผู้ป่วยได้รับในปัจจุบัน
หากเจ็บป่วยผู้ป่วยโรคไตไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง
แจ้งแพทย์ถึงความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวเพิ่ม ขาบวม หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตะคริว แขน-ขาชา ไม่มีแรง คันตามผิวหนัง กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะขัด

สารอาหารที่มีผลต่อไต
ผู้ป่วยโรคไตควรจำกัดและหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เนื่องจากเมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ ร่างกายมีการสะสมของเสียมากเกินไป
โซเดียม ร่างกายต้องการโซเดียมในปริมาณเล็กน้อยเพื่อควบคุมความดันโลหิต เมื่อเป็นโรคไตร่างกายจะไม่สามารถกำจัดโซเดียมส่วนเกินออกไปได้ ทำให้เกิดมีน้ำคั่งและเกิดอาการบวม ความดันโลหิตสูง มีน้ำท่วมปอด และอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารที่มีโซเดียมสูง (เช่น ปลาเค็ม แฮม เบคอน ไส้กรอก อาหารดอง ขนมขบเคี้ยว เนยแข็ง) อาหารรสจืดแต่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ (เช่น ขนมปังเนื่องจากมีการใช้ผงฟู)
โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่ที่ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อและประสาทเป็นไปตามปกติ เมื่อไตทำงานลดลงจะลดการขับโพแทสเซียมทางปัสสาวะ ทำให้เกิดการสะสมของโพแทสเซียม ถ้ามีสูงจะเริ่มมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตะคริว หรือหัวใจเต้นผิดปกติได้ ผู้ป่วยโรคไตระยะเริ่มต้นและปานกลาง ซึ่งไตยังพอขับถ่ายของเสียได้ดี มีปัสสาวะจำนวนมากและระดับของโพแทสเซียมในเลือดไม่สูงมาก สามารถรับประทานผักและผลไม้ได้โดยไม่ต้องจำกัด แต่สำหรับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 5.0 มก./ดล. ควรควบคุมปริมาณผักและผลไม้ โดยเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำได้วันละ 1-2 ครั้ง เช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ แตงกวา ผักกาดหอม ถั่วงอก องุ่น สับปะรด เป็นต้น
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น ผลไม้แห้งทุกชนิด ทุเรียน มะขาม แคนตาลูป น้ำลูกยอ มะเขือเทศ ผักใบเขียว หัวผักกาด กล้วย ส้ม มะละกอ ขนุน เป็นต้น
ฟอสฟอรัส เมื่อไตวาย ร่างกายจะมีปัญหาการดูดซึมแคลเซียม และการกำจัดฟอสฟอรัสจะทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมน้อยและมีฟอสฟอรัสในเลือดมากเกินไป
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ รำข้าว เนยแข็ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม นมข้นหวาน ไข่ปลา ไข่แดง กุ้ง ปู ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ผงฟู ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำอัดลมสีดำ เป็นต้น
โปรตีน เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการ ผู้ป่วยโรคไตก็ยังต้องรับประทานอาหารที่ให้โปรตีน แต่ควรจำกัดปริมาณอาหารที่มีโปรตีนสูงทั้งจากพืชและเนื้อสัตว์ไม่ให้มากเกินไป เพื่อเป็นการลดการทำงานของไต
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลมาก (เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังหมู หนังเป็ดและไก่ เนื้อหมูและเนื้อวัวติดมัน ซี่โครงหมูที่ติดมันมาก หมูหัน เป็ดปักกิ่ง หมูสามชั้น หมูกรอบ เป็ดย่าง ห่านพะโล้ ไข่ปลา ไข่กุ้ง) เนื้อสัตว์ที่มีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบ ซึ่งทำให้ไตทำงานขับถ่ายของเสียหนักขึ้น (เช่น เอ็นหมู เอ็นวัว เอ็นไก่ หูฉลาม ตีนเป็ด ตีนไก่ หนังสัตว์ กระดูกอ่อน รวมทั้งถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ และขนม อาหารที่มีไส้ถั่ว)

ถั่งเช่าดูแลไตคุณอย่างไร

อาหารเสริมถั่งเช่ามีสารทางยาที่สามารถช่วยชะลอการเสื่อมสภาพของไต และช่วยลดระดับของเสียที่คั่งอยู่ในร่างกายผู้ป่วยได้ ทำให้อาการบางอย่าง ของโรคไต เช่น การอักเสบในไต อันมีผลมาจากการนอนดึก นั่งนาน ทำงานหนัก สูบบุหรี่ ได้รับสารพิษมาก รับประทานอาหารที่เค็มจัด มีโซเดียมสูง ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง.. ร่างกายจะมี อาการข้างเคียง เช่นผมหงอก ผมหลุดร่วงง่าย สมรรถภาพทางเพศเสื่อม ผิวพรรณหมองคล้ำ ใต้ตาเป็นถุงน้ำ ผิวเหี่ยวย่น แก่ชราเร็ว กระดูกพรุน คลื่นไส้ มีแผลในปาก และเมื่อ สารพิษถูกสะสมในร่างกายมากขึ้นเนื่องจาก ไตไม่สามารถขับสารพิษออกได้ ซึ่งสุดท้ายคือ อาการไตวาย

ศาสตร์ทางการแพทย์ของจีนจะใช้ถั่งเช่า ในปริมาณ 3-5 กรัม ต่อ วัน ในการให้การรักษา ทำให้ผู้ป่วย สามารถหายจาก อาการของโรคไตได้ในช่วงเวลา 60-90 วัน แล้วแต่การตอบรับของร่างกาย ผู้ป่วยเอง

ถั่งเช่ารักษาโรคไต

* สำหรับผู้ป่วยฟอกไต สามารถรับประทานถั่งเช่าได้ตามปกติ
* สำหรับผู้ป่วยที่ปัสสาวะบ่อย ในตอนกลางคืน สามารถใช้ถั่งเช่าช่วยดูแลสุขภาพได้เป็นอย่างดี

สำหรับผู้ป่วยฟอกไต สามารถรับประทานถั่งเช่าได้ตามปกติ / สำหรับผู้ป่วยที่ปัสสาวะบ่อย ในตอนกลางคืน สามารถใช้ถั่งเช่าช่วยดูแลสุขภาพได้เป็นอย่างดี

* ถั่งเช่าให้ประโยชน์สูงสุด สำหรับผู้ป่วยที่เปลี่ยนไตแล้ว
* ถั่งเช่า มักถูกนำมาใช้แทนยาแผนปัจจุบันบางชนิด 
* ถั่งเช่าเป็นสมุนไพรทางเลือก ในผู้ป่วยที่แพ้ยาแผนปัจจุบัน



ขอขอบคุณข้อมูล Facebook : อาจารย์ Worawit Rochanavipart

4.5/5 (4)

หากบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกันให้คะแนนด้วยนะคะ