ถั่งเช่าควรทานนานแค่ไหน

ถั่งเช่าควรทานนานแค่ไหน

การดูแลสุขภาพด้วยถั่งเช่าจำเป็นต้อง เว้นช่วงเวลา ให้ร่างกายได้พัก.. หรือ ห่างยา เป็นบางช่วง.. หรือไม่..?


วันนี้เราจะมาดูว่า ถั่งเช่าควรทานนานแค่ไหน และหยุดเมื่อไหร่
อาการดื้อยา กับความเข้าใจผิดของคนทั่วไปนั้น มีเรื่องราวน่าสนใจ ดังนี้คือ..

ผลจากการศึกษาของกระทรวงสาธารณสุข และ เวลคัมทรัสต์ ซึ่งเป็นกองทุนด้านสาธารณสุขของประเทศอังกฤษ พบว่า.. ในทุกๆ ชั่วโมง ในประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากการดื้อยาปฏิชีวนะเฉลี่ย 2 คน โดยในปี 2010 มีผู้เสียชีวิต จากเชื้อแบคทีเรีย ดื้อยาในประเทศไทยถึง 19,122 คน ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจาก.. การที่คนไทยสามารถหาซื้อยารับประทานเองตามร้านขายยาได้ง่าย โดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์

การดื้อยาของเชื้อโรคเกิดจากการที่ใช้ยามากเกินไป จนเชื้อพัฒนาให้สามารถต่อต้านได้ด้วยตัวเอง โดยเกิดขึ้นได้กับเชื้อทุกชนิด อยู่ที่ว่าจะมากหรือน้อยแค่ไหนในเชื้อแต่ละตัว รวมถึงพฤติกรรมการใช้ยาว่าถูกวิธีหรือไม่ โดยหลายคนอาจคิดว่า.. อาการป่วยทั่วไป เป็นอาการธรรมดา ที่สามารถซื้อยารับประทานได้เอง จึงไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ เช่น ไข้หวัด อาการท้องเสีย หรือแผลที่เกิดขึ้นตามร่างกาย ซึ่งจริงๆแล้วสามารถหายได้เองโดยที่ไม่ต้องพบแพทย์ หรือ ทานยาเลย

ข้อแตกต่างของ ยาที่ซื้อจากเภสัชกร กับ ยาที่ได้รับ จากแพทย์นั้นแตกต่างกันที่การวินิจฉัย คือ เภสัชกรจะไม่สามารถวินิจฉัยอาการของผู้ป่วยได้แม่นยำ เท่ากับแพทย์ ในขณะที่ แพทย์เองก็อาจจะ ไม่มีความรู้เรื่องการจ่ายยาเท่า เภสัชกร นอกจากนี้ยังมี

ตัวยาบางประเภทที่คนทั่วไปนั้นมีความเข้าใจผิดอยู่คือ ยาต้านเชื้อแบคทีเรียหรือที่เรียกกันว่ายาแก้อักเสบ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเพราะ ยาต้านแบคทีเรีย และ ยาแก้อักเสบ นั้นแตกต่างกัน

ดังนั้นหากผู้ป่วยซื้อยารับประทานเองก็มีโอกาสที่จะได้ยาฆ่าเชื้อหรือยาต้านแบคทีเรียมา โดยที่เข้าใจว่าคือยาแก้อักเสบซึ่งทานแล้วจะหายได้ทุกโรค จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เราได้ยาต้านแบคทีเรียโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ยังมียาปฏิชีวนะอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกับยาแก้อักเสบ แต่ใกล้เคียงกับยาต้านแบคทีเรีย คือเมื่อผู้ป่วยติดเชื้อจนเกิดการอักเสบ ฤทธิ์ยาจะเข้าไปทำลายเชื้อ การอักเสบจะหายไป จึงเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดว่า ยาต้านแบคทีเรียคือยาแก้อักเสบ แต่ความจริงแล้วการอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่มีการติดเชื้อ เช่น โรคเก๊า หรือการเดินชนสิ่งของแล้วเกิดการบวม อาการเหล่านี้คืออาการที่ต้องใช้ยาแก้อักเสบ เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า ยาทั้ง 3 ประเภทนี้ ไม่เกี่ยวข้องกัน

ทั้งนี้อาการดื้อยาในร่างกายของเราสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ แม้ว่าจะใช้ยาที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องก็ตาม แต่หากร่างกายได้รับยาที่ไม่ถูกต้องนั่นหมายความว่าร่างกายของเรานั้นใช้ยาเกินขนาดทำให้เกิดอาการดื้อยาโดยไม่จำเป็น

ref : ข้อมูลจาก รายการพบหมอรามา ช่วง Big story วิกฤตดื้อยาจากการใช้ยาปฏิชีวนะ วันที่ 28 พ.ย.59

ผศ.นพ.กำธร มาลาธรรม สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
https://med.mahidol.ac.th/

ถั่งเช่า ถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาประเภท ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร อาจไม่ใช่ทั้ง ยา อาหารเสริม และ สมุนไพร แต่ก็ยังถูกเรียกว่า ยา อยู่ดี และยังมีคุณสมบัติหลายประการ ที่ใกล้เคียงกับ ยาสมุนไพร จนบางครั้ง เผลอเรียก หรือ อุปโหลกกันไปว่า.. เป็นสมุนไพร จึงอธิบาย เทียบเคียงได้ ดังนี้ คือ..

ยาจำพวก สมุนไพร ในปัจจุบันนี้.. ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตมากขึ้น ในการใช้รักษาโรค หรือการใช้เป็นอาหารเสริม โดยอาจเป็นเพราะ สังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของสมุนไพร แต่หากมีการนำสมุนไพรมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี สมุนไพร ก็อาจจะก่อให้เกิดโทษ ต่อผู้ใช้ได้ ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบัน เริ่มมีรายงานทางคลินิกเกี่ยวกับอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้สมุนไพรมากขึ้น

สมุนไพรที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ประกาศเตือนให้ระวังถึงความปลอดภัยจากการใช้ 9 ชนิดในปี ค.ศ.1993 ได้แก่
Chaparral, Comfrey, Yohimbe, Lobelia, Germander, Willow Bark, Ma huang, Jin Bu Huan (ตำรับสมุนไพรจีน),ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีสมุนไพรกลุ่ม Stephania และ Magnolia species

อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้สมุนไพร สามารถจำแนกได้เป็น 7 กลุ่ม (สมุนไพร 1 ชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายได้มากกว่า 1 กลุ่ม) โดยข้อมูลบางส่วนมีหลักฐานยืนยันแน่นอน บางส่วนอิงข้อมูลจากการทดลอง (สัตว์ทดลอง และ/หรือ หลอดทดลอง) และบางส่วนก็มีเพียงกรณีศึกษาเท่านั้น

อันตรายจากการใช้สมุนไพรจำแนกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้
1. สมุนไพรที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ (Allergic reactions)
2. สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษ (Toxic reactions)
3. สมุนไพรที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ (Adverse effects)
4. การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร (Herb and drug reactions)
5. การใช้สมุนไพรผิดชนิด ผิดวิธี (Mistaken plants, Mistaken preparation)
6. การปนเปื้อนในสมุนไพร (Contamination)
7. สมุนไพรที่มีการปลอมปน (Adulterants)

http://www.pharmacy.mahidol.ac.th

การกำหนดว่า.. ถั่งเช่า จัดอยู่ในกลุ่ม ยาสมุนไพร จึงจำเป็นต้อง ระมัด-ระวัง ในการใช้ ด้วยเช่นกัน เช่น ในทางการแพทย์ และทาง เภสัชกรรมแผนไทย อาจรวมถึง ในแผนจีนด้วย ที่กล่าวถึง กลุ่มยาร้อน – กลุ่มยาเย็น ไว้เป็นตัวอย่างว่า..

ในการรับประทาน ยาสมุนไพร ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้สมดุลของธาตุในร่างกายเปลี่ยนแปลงได้ เช่น

1. กลุ่มยาร้อน.. ความร้อนสะสมมากไปก็จะทำให้ ภายในร่างกายร้อน มีไข้ เป็นแผลร้อนใน เช่น โสม ขิง ขมิ้นชัน ถั่งเช่า ฯ
2. กลุ่มยาเย็น.. ความเย็นสะสมมาก ทำให้ภายในร่างกายเย็น ซีดเหลือง มีอาการเหน็บชา ท้องอืดได้ เช่น ฟ้าทะลายโจร หลินจือ รางจืด ฯ
3. กลุ่มยาลม.. เมื่อลมสะสมในร่างกายมากเกินไป ทำให้เรอ ผายลมตลอดเวลา ร้ายแรงสุดก็ทำให้เป็นอัมพาตได้ เช่น ขิง ข่า ตระไคร้ ฯ

ซึ่ง ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน การกินยาทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น ยา และ สมุนไพร ติดต่อกันเป็นเวลานาน จะกลายเป็นภาระในการทำงานของไต มีความเป็นพิษต่อตับ ระบบเลือด เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้

ดังนั้น การจะอธิบายว่า ยา หรือ สมุนไพร ตัวใดตัวหนึ่ง รวมอยู่ในประเด็นว่า.. ไม่ควรทานติดต่อกันไป นานๆ เพราะ สามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกายได้ จึงถูกเชื่อมโยงไปยัง อาการ ดื้อยา ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนต้น ได้ แต่ อยู่ในเหตุผลที่ เหมือน และ แตกต่างกัน คือ..

ส่วนที่เหมือน.. ดื้อยา หมายถึง ทานยาชนิดหนึ่ง เช่น ยาปฏิชีวนะ ติดต่อกัน นานๆ สุดท้าย เชื้อโรค จะมีการพัฒนาตัวเอง ให้แข็งแรง จนยาปฏิชีวนะตัวเดิม ใช้ไม่ได้ผลอีก ต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นตัวยาที่แรงขึ้น แบบนี้คือ เชื้อ-ดื้อยา เข้าใจง่ายๆ คือ [ทานยา ก็เหมือนไม่ได้ทาน].. คือ ทานแล้ว.. ก็ไม่หาย ใช้รักษาโรค.. ก็ไม่ได้

เมื่อเทียบกับ สมุนไพร คือ ทานยาตัวหนึ่งไปนาน แล้วเกิดความรู้สึกว่า ทานไป ก็เหมือน ไม่ได้ทาน เพราะ ไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆ แสดงออกมาเลย ทุกวัน ที่ทาน รู้สึกอย่างไร ก็ยังเป็นความรู้สึกเดิมๆ แต่พอ หยุดทาน กลับรู้สึก อ่อนล้า หรือ เหมือนขาด บางสิ่งบางอย่างไป

เห็นหรือยังครับว่า.. อยู่ในความรู้สึกที่ คล้ายกัน ตรงที่.. ทานแล้ว ก็เหมือน ไม่ได้ทาน
แต่ ในส่วนที่แตกต่าง คือ การดื้อยา จากการทานยาปฏิชีวนะ ชนิดเดิม ไปนานๆ ก่อ อันตราย มากกว่า ทานยาสมุนไพรตัวเดิม ติดต่อกัน นานๆ

ในศาสตร์แพทย์ ทั้งแผนไทย แผนจีน และ แพทย์แผนปัจจุบัน จึงมีคำเตือน ที่ไม่ให้ ทานยาใดๆ ติดต่อกันเป็นเวลา นานๆ เพราะ

จะทำให้เกิดอาการ [ดื้อยา] นี่เอง.. แล้ว ถั่งเช่า ล่ะ มีการดื้อยา หรือไม่.. ควรทาน อย่างไร..

ถั่งเช่า จัดอยู่ในกลุ่ม ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งก็ไม่ใช่ทั้ง ยา และ ไม่ได้เป็นสมุนไพร การทานถั่งเช่า จึง คล้ายคลึงกับ การรับประทานอาหาร ทั่วๆไป นั่นเอง เช่น ถามว่า อาหารบางชนิด ที่มีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น กระเทียม หัวหอม ตะไคร้ ขิง ฯ เราสามารถ ทาน ทุกวัน ทุกมื้อ ได้หรือไม่..?

คำตอบคือ..ได้.. ถ้าหากทานไม่มากเกินไป ท่านสามารถทาน กระเทียมสด ทุกมื้อ เช่น มื้อละ 2-3 กลีบ ได้ โดยอาจพึงใจในรสชาด สบายใจในการลดเสมหะ ดื่มน้ำตะไคร้หอม หรือน้ำขิง ทุกวัน วันละแก้ว ก็สดชื่น ลดไข้ ทานแล้วเย็น สบายดี เหล่านี้ ก็ล้วนไม่ก่อ อันตรายใดๆ ต่อร่างกาย

การทานถั่งเช่าแบบต่างๆ อ่านที่นี่

ถั่งเช่า ก็เช่นกัน คือทานแต่เพียง พอดี ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ แต่จะเกิดผล อย่างไรนั้น เราอาจใช้ ความรู้สึก และ อารมณ์ เป็นตัวช่วย สนับสนุนได้.. ดังเช่น การดื่มกาแฟ วันละ 1 แก้ว ในตอนเช้า หลังมื้ออาหาร

วันแรกที่ดื่มเรามักจะ รู้สึกดี สดชื่น สดใส กระปรี้-กระเปร่า แต่เมื่อดื่มไปในทุกๆ วัน เราก็จะรู้สึกเคยชินจนกลายเป็น รู้สึก เฉยๆ

ทีนี้.. เอาใหม่.. ลอง ไม่ดื่ม ดูสัก 1 วัน อืม.. ตรงนี้ อาจทำให้เรารู้สึก คิดถึง หรืออาจกลายเป็น โหยหา.. ที่เรียกว่า ติดกาแฟ..(ใช่หรือเปล่า น๊าาา..) ไม่เชื่อก็ลอง.. แกล้งลืมทานถั่งเช่า ดูสัก 2-3 วัน ดูซิครับ ว่าจะเป็น ยังไง

หลักการคือ.. การได้ทาน ถั่งเช่า ในทุกๆ วัน ก็เปรียบได้กับการทาน กระเทียม นั่นเอง คือ ทานทุกวัน (ได้).. ซึ่งจะช่วยให้ ร่างกาย มี สมดุล ที่ดี แข็งแรง มีภูมิต้านทาน หลับสบาย สดชื่น เลือดไหลเวียนคล่องตัว ไม่เหนื่อยง่าย หากร่างกายเรา คุ้นชินกับสภาพเช่นนี้ จนรู้สึกว่า ทาน..ก็เหมือน..ไม่ได้ทาน ก็ให้ทดลอง หยุดทาน สัก 1 สัปดาห์ ซึ่งเราก็ยังเป็น ปกติดี.. (หาก หยุดทานจริงๆ ได้ ก็สามารถ หยุดทาน ได้เลย) และหาก นึกอยากทาน ขึ้นมาใหม่ ก็ หยิบมาทานได้อีกเช่นกัน

ตอนนี้แหละครับ (ตอนเริ่มกลับมาทานใหม่) ความรู้สึกดีๆ ที่เคยได้รับ มันหวลกลับมาหาเราอีกครั้ง ก็ช่วยให้เรา สดชื่น ตื่นเต้น และ สดใส จากที่..อื่ม.. คิดถึง มานาน (จริงแล้ว ไม่นานเลย..แค่ อาทิตย์เดียวเอง) อารมณ์ เหมือนคล้าย ได้เห็นหน้า แฟน หลังจากที่ไม่เจอกันไปหลายๆ วัน อย่างนั้นเลย(รึเปล่า ครับ..นี่).. เปรียบเทียบ แบบนี้ ได้ด้วยหรือ..?

เอาเป็นว่า ขอสรุปเลย ละกันครับ..ว่า.. ถั่งเช่าทานได้ทุกวัน แต่เพียงพอดีนั้น ทานได้ ครับ และ เช่นเดียวกัน หากว่า..อยาก หยุดทาน ในวันใด ก็สามารถ (ทำได้ หยุดได้) ไม่เสียหาย การทานถั่งเช่า ต่อเนื่องกัน เป็นปี และ หยุดทาน สักประมาณ 1 สัปดาห์..ถึง..1 เดือน ก็เป็นสิ่งที่ ชาวจีน นิยมทำกัน อาจด้วยเหตุผล เพื่อ ให้ร่างกาย ได้พัก จากการถูก กระตุ้น หรือ หมุนเวียน ที่คล่องตัว มาเป็น อืดอาด เชื่องช้า ลงเสียบ้าง..

และเมื่อได้กลับมาทานรอบใหม่ ได้กลับมาสดชื่นใหม่ ก็จะทำให้รู้สึก เห็นคุณค่า และ รู้สึกดี แบบนี้..สบายใจ ทดลองทำกันดูบ้าง ก็ได้ ไม่เสียหายเลยครับ

ถั่งเช่าควรทานนานแค่ไหน

* แบบแคปซูลควรทาน 2 เดือนและหยุด1 อาทิตย์ 

* แบบชา ทานได้ต่อเนื่อง อาจจะทานช่วงเช้า

*  ดูแลตัวเองควบคู่กับการทานถั่งเช่า 

ถั่งเช่าเป็นสมุนไพร มิใช่ยาที่ช่วยรักษา

* เลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานและเชื่อถือได้

 

ขอขอบคุณข้อมูล Facebook : อาจารย์ Worawit Rochanavipart

4.45/5 (20)

หากบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกันให้คะแนนด้วยนะคะ