โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia)
โรคไขมันในเลือดสูงกับถั่งเช่า
ไขมันในเลือดสูง เป็นคำที่เราได้ยินกันบ่อยๆ เพราะคุณหมอ มักพูดกับเราในเวลาที่เราไปตรวจสุขภาพ แบบ ก็จะอ้างถึงคลอเรสเตอรอล ไขมันดี ไขมันเลว ไตรกลีเซอไรด์…จนเรารู้จัก พวกมันอย่างดีเยี่ยม แต่ว่า.. นั่นยังไม่ครบ ทุกด้าน..เราลองมาดูกันก่อนดีไหมว่า.. ไขมันในเลือดมีอะไรบ้าง
1. T-C ระดับโคเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol, TC) ควรน้อยกว่า 200 mg/dL
2. LDL-C ระดับ Low Density Lipoprotein-Cholesterol (LDL-C) ควรน้อยกว่า 100 mg/dL
3. HDL-C ระดับ High Density Lipoprotein Cholesterol (HDL-C) ควรมากกว่า 40 mg/dL
4. TG ระดับไตรกลีเซอไรด์ (Tri-Glyceride)
ควรน้อยกว่า 150 mg/dL
แล้วไขมันในเลือด สูงหรือต่ำมันคืออะไร?
1. TC Total Chotesterol เป็นปริมาณ ไขมันรวม ซึ่งก็คือ ค่ารวมของ ไขมันทั้ง 4 รวมกัน
2. LDL Low Density Lipoprotein ตัวนี้ องค์ประกอบหลัก ก็คือ choresterol การไหลเวียนในร่างกาย ของ LDL ก็จะวน ทั่วร่างกาย และสุดท้าย จะวิ่งไปที่ตับ โดย ตับ จะมี LDL receptor เป็นตัวรับ เมื่อไปกองรวมกันมากๆ ก็จะเกิดโรค ไขมันพอกตับ ทำให้ ประสิทธิภาพ การทำงาน ในการขจัดสารพิษ ของตับ ลดลง
3. HDL High Density Lipoprotein ทำหน้าที่ในการนำพาไขมันที่ไม่ดีต่าง ๆ ในร่างกายไปยังตับเพื่อทำการย่อยสลาย ซึ่งไขมันชนิดนี้เป็นไขมันที่ดีต่อร่างกาย ยิ่งมีมากก็จะยิ่งทำให้ไขมันที่เข้าไปในร่างกายไม่เกิดการตกค้าง
4. TG Tri Glyceride ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันชนิดที่ไม่ดีซึ่งจะคอยขัดขวางไม่ให้คอเลสเตอรอลที่ดีไปจัดการกับไขมันที่อยู่ในเลือด หากมีมากจนเกินไป คอเลสเตอรอลที่ดีก็จะไม่สามารถกำจัดไขมันที่ไม่ดีในเลือดได้ ส่งผลให้ไขมันที่ตกค้างอยู่ไปเกาะสะสมอยู่ในหลอดเลือดทำให้เกิดการอุดตันในที่สุด
สาเหตุที่ทำให้มีระดับคอเลสเตอรอลสูงกว่าปกติ แต่ระดับไตรกลีเซอไรด์ปกติ
เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวรับไขมันชนิด LDL (LDL recep tor) ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า Familial cholesterolemia (FM) โดยหากความผิดปกติของพันธุกรรมเกิดบนโครโมโซม (Chromosome) ทั้ง 2 แท่ง (ที่คู่กัน) ที่เรียกว่า Homozygous จะพบโรคนี้ได้ประมาณ 1 คนใน 1 ล้านคน แต่ถ้าความผิดปกติเกิดบนโครโมโซมเพียงแท่งเดียว (Hetero zygous) จะพบโรคนี้ได้ประมาณ 1 คนใน 500 คน
เกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอกร่วมกับมีพันธุกรรมบางอย่างที่เสี่ยงต่อการมีไขมันในเลือดสูงเรียกภาวะนี้ว่า Polygenic hypercholesterolemia สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด พันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุนี้อาจมีหลายตัวบนหลายโครโมโซม ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบชนิดพันธุกรรมที่ชัดเจน ซึ่งปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมได้แก่ การกินอาหารที่มีไขมันเป็นสัดส่วนมากเกิน ไป, การกินอาหารที่ประกอบด้วยไขมันอิ่มตัวสูง (มักเป็นไขมันจากสัตว์), มีไขมันชนิดคอเลส เทอรอลสูง (มักเป็นไขมันจากสัตว์), กินอาหารที่มีใยอาหาร (ผัก ผลไม้) น้อย, การมีน้ำหนักตัวเกิน, ดื่มแอลกอฮอล์, ไม่ออกกำลังกาย, การใช้เครื่องอำนวยความสะดวกมากเกินไป ซึ่งทั้ง หมดเป็นวิถีชีวิตส่วนใหญ่ของคนในเมือง
เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโปรตีนที่ประกอบกับไขมันชื่อ Apo B-100 เรียกภาวะนี้ว่า Familial defective apo B-100 (FDB) พบเป็นสาเหตุได้น้อยมาก ยก เว้นในคนเชื้อชาติเยอรมันที่พบได้สูงถึง 1 คนใน 1,000 คน
เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวรับไขมันชนิด LDL (LDL recep tor) เฉพาะที่อยู่บนตับเรียกว่า Autosomal recessive hypercholesterolemia (ARH) พบเป็นสาเหตุได้น้อยมาก ยกเว้นในคนเชื้อชาติอิตาลีที่พบได้บ่อย
เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมไขมันที่ลำไส้เล็กส่วนต้น เรียกภาวะนี้ว่า Sitosterolemia พบภาวะนี้ได้น้อยมากเช่นกัน
อาการของไขมันในเลือดสูง
ไขมันในเลือดสูงจะไม่มีอาการ การที่จะทราบว่าไขมันในเลือดสูงรู้ได้จากนำเลือดไปตรวจ
สาเหตุของไขมันในเลือดสูง
- กรรมพันธ์ ร่างกายไม่สามารถกำจัดไขมันได้อย่างเพียงพอ
- โรคเบาหวาน
- พฤติกรรมในการดำรงชีพ ไม่ได้คุมอาหาร ไม่ได้ออกกำลังกาย
- ปัจจัยเสี่ยงของโรคไขมันในเลือดสูง
- ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ไขมันในเลือดสูงได้แก่
- อ้วนหรือน้ำหนักเกิน
- รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวมาก
- ออกกำลังกายไม่เพียงพอ
- ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
- ความดันโลหิตสูง
- สูบบุหรี่เบาหวาน
การรักษาโรคระดับไขมันในเลือดสูงผิดปกติ
เรามาดูวิธีการรักษาโรคไขมันในเลือดสูงกันดีกว่า เมื่อเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง วิธีการรักษาก็คือการใช้ยา แพทย์จะสั่งยาในกลุ่ม Statins
- TC จะใช้ยา Bile acid sequestrants เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอล
- TG จะใช้ยา ในกลุ่ม Fibric acids derivatives, Icotinic acid หรือ Analogue เพื่อช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์
ผลข้างเคียงของยา กลุ่มstatin คือ ทำให้ กล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้อถูกทำลาย กลายเป็น กล้ามเนื้อ ลีบฝ่อ อาจเกิดขึ้นมากจนถึงระดับไตวาย
ปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เกิดอาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เช่น ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อ หรือข้ออักเสบ กล้ามเนื้อ ลีบฝ่อ อัมพฤกษ์ หรือการฉีกขาด-บาดเจ็บ ของกล้ามเนื้อ ได้แก่
• การมี อายุมาก
• การมี รูปร่างเล็ก
• ความเป็น เพศหญิง
• มีโรคตับ หรือ โรคไต อยู่
• เป็นโรค ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย
• ดื่มสุรา เป็นอาจิณ
• รับประทานยาหลายขนาน
อาการปวดกล้ามเนื้อพบได้ร้อยละ5-10 โดยมีอาการที่สำคัญคือปวดกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปเจาะเลือดหาระดับ CPK มักจะไม่สูง หากผู้ป่วยปวดไม่มากขึ้น และทนอาการปวดได้ก็แนะนำให้รับประทานยาต่อ หากปวดมากขึ้นจนทนไม่ได้หรือค่า CPK สูงก็ให้หยุดยา
นอกจากนี้ ยังทำให้เกิด อาการ ตับอักเสบ คือยา gemfibrozil และ niacin พบว่าเกิดตับอักเสบร้อยละ 0.5-2%โดยจะต้องตรวจเลือดพบว่าค่า SGOTสูงมากว่าค่าปกติ 3 เท่า 2 ครั้งห่างกันเป็นสัปดาห์ เมื่อลดขนาดของยาค่านี้ก็จะลดลง
ผลข้างเคียงที่อาจพบบ่อยแต่ไม่อันตรายมาก ได้แก่
• ปวดกล้ามเนื้อ
• ปวดตามข้อต่างๆ
• คลื่นไส้
• ท้องร่วง
• ท้องผูก
มีรายงานพบว่า ยากลุ่มนี้ อาจจะทำให้ความจำเสื่อม อัลไซม์เมอร์
ชื่อทางการค้าของยากลุ่มนี้ ได้แก่
– simvastatin
– atrovastatin
– rosuvastatin
– lovastatin
หากใช้ร่วมกับยา gemfibrozil จะทำให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบเพิ่มมากขึ้น
จึงควรเลี่ยงมาใช้ยา
• fenofibrate
• bezafibrate
• ciprofibrate
แทน ก็จะเป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้อน้อยลง http://www.siamhealth.net/…/endocrine/lipid/Dyslipidemia.htm
ทีนี้มาดูมหันตภัยของยากลุ่ม statin กันสักหน่อยนึงครับ ว่าเราควรใช้ statin หรือ ใช้ถั่งเช่าที่มีความปลอดภัย ต่อ ตับ ไต และ กล้ามเนื้อ ของเรามากกว่ากัน
ชัดเจนว่ายากลุ่ม statin นี้เป็นยาฝรั่ง ค้นพบผลิตและสัมปทานโดยฝรั่งกำไร ตกที่ฝรั่ง (ตับ/ไต พัง คือคนไทย) ยานี้ เป็นยาลดไขมันตัวเลว ที่ชื่อว่า LDL (low density lipoprotein) ที่ต่างประเทศ รายงานแล้วรายงานอีก ว่าใช้ขนาดปริมาณสูงก็ไม่เกิดผลข้างเคียง โดยหวังผลทางป้องกันโรคหัวใจ โรคเส้นเลือดสมองตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต ในคนไทยใช้แล้วหลายๆราย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนแรง ตับอักเสบ แต่ก็ยังคะยั้นคะยอให้ทานต่อ คนไข้ก็กลัวไขมันสูงยอมตายจากการกินยา จนอาจได้ตายจริงๆ เพราะกล้ามเนื้ออักเสบตามด้วยไตวาย
กลุ่มยาที่ชื่อ statin นี้มีมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 คือ Simvastatin (Zocor ชื่อการค้า) จนมีลูกหลานตามมาอาทิ Atorvastatin (Lipitor), Rosuvastatin (Crestor) และอื่นๆอีกมากมาย
กรณีศึกษาผู้ใช้ยาลดไขมันในเลือด :
คุณมงคล (นามสมมติ) อายุ 65 ปี มีโรคประจำตัว คือโรคอ้วนลงพุงและความดันเลือดสูง หลายปีก่อนเกิดอัมพฤกษ์ของก้านสมองทำให้มีเดินโซเซเห็นภาพซ้อน และกลืนอาหารแล้วมักจะมีอาการสำลัก
คุณมงคลมีอาการเหนื่อยมากและแน่นหน้าอก 2 เดือนที่แล้ว ได้รับการผ่าตัดเส้นเลือดหัวใจ หลังจากนั้นได้รับยา Simvastatin เพิ่มเป็น 40 มิลลิกรัมต่อวัน จากเดิมที่ใช้ขนาด 10 มิลลิกรัม คุณมงคลมีอาการดีขึ้นมาเรื่อยๆ ทำการเลี้ยงฉลองที่รอดชีวิตหลายครั้ง
จน 6 อาทิตย์ถัดมาเกิดข้อหัวแม่เท้าอักเสบ ซึ่งเกิดจากโรคเกาต์ (Gout) และได้รับยาแก้ปวดเกาต์ชื่อ Colchicine และได้กินอยู่ตลอดในขนาดวันละ 2 เม็ด เพื่อป้องกันการ กลับเป็นซ้ำ
สุดท้ายคือ ต้องเข้าโรงพยาบาล (อีกครั้ง) คุณมงคลปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามต้นแขน บ่า ไหล่ ต้นขา น่อง อาการเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีอาการขาอ่อนแรงทั้งสองข้าง ซึ่งลามมาที่แขนและพบว่ามีการสลายของเซลล์กล้ามเนื้อและมีผลทำให้ ตกตะกอนในไต ทำให้ไตเริ่มทำงานบกพร่องไปจากเดิมซึ่งเป็นไม่มาก จากการเกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากยาลดไขมัน
การใช้ยาไขมันร่วมกับยาโรคเกาต์ Colchicine ซึ่งในบางรายทำให้เกิดโรคของกล้ามเนื้อและเส้น ประสาท (neuromyopathy) อยู่แล้วประกอบกับการทำงานของไตไม่ปกติ เหล่านี้ทั้งหมดเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดปวดกล้ามเนื้อจนถึงแหลกสลาย (rhabdomyolysis) ซึ่งถ้าเป็นรุนแรงจะไปตกตะกอนในไตและไตวายต่อไปได้
หลังจากคุณมงคลหยุดยา Simvastatin และ Colchicine อาการก็เริ่มทุเลา และเริ่มลุกขึ้นยืนเดินโดยช่วยพยุงภายใน 2 อาทิตย์ และกลับเป็นปกติใน 6 อาทิตย์
ภาวะส่งเสริมให้เกิดกล้ามเนื้อผิดปกติ ยังเกี่ยวกับอายุ คือ มากกว่า 65 ปี มีโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย การได้รับยาลดไขมัน triglyceride ร่วม เช่นยา Gemfibrozil (Lopid) และกลุ่ม Fibrate อื่นๆทั้งหมด ในกรณีนี้ไม่ควรใช้ Simvastatin ในขนาดเกิน 10 มิลลิกรัมต่อวัน ยาอื่นๆที่ทำให้ระดับ Simvastatin สูงขึ้นมาก 💋ไม่ควรใช้ร่วมกับ Simvastatin เลย เช่น
– ยาป้องกันการเต้นผิดปกติของหัวใจ Amiodarone (เช่น Cordarone) Verapamil (เช่น Isoptin)
– ยาฆ่าเชื้อรา Itraconazole Ketoconazole ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย Erythromycin Clarithromycin (เช่น Klacid)
– ยาต้านโรคเอดส์ HIV protease inhibitors
– ยาต้านซึมเศร้า Nefazodone
นอกจากนั้น Simvastatin ยังมีปฏิกิริยาเสริมหรือต้านฤทธิ์กับยาอื่นๆอีกหลายชนิด
อย่างนี้เรียกว่ายาตีกัน ห้ามให้เด็ดขาดในสตรีมีครรภ์และควรแน่ใจว่าไม่มีแผนที่จะมีบุตรในขณะที่ใช้ยา เนื่องจากเด็กอาจพิการและไม่ควรให้ในสตรีที่ให้นมลูก
อ่านตัวเต็มได้ที่ http://www.thairath.co.th/content/506345
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ที่มีปัญหาไขมันในเส้นเลือดสูงได้แก่
-ไขมันสัตว์ เช่น มันหมู หมูสามชั้น สันคอหมู ขาหมูติดมัน หนังเป็ดพะโล้ ก้นไก่ ก้นเป็ด มันไก่ หากจะรับประทานไก่ ให้เลือกส่วนอก และควรลอกหนังออก ใช้เนื้อสัตว์มีไขมันอิ่มตัวให้น้อย คือ ปลา และไก่ไม่ติดหนัง (เลือกทานไก่บริเวณอก)
– ไขมันจากน้ำมะพร้าวแก่ เช่น กะทิข้น ควรงดแกงเผ็ดใส่กะทิ แกงเขียวหวาน แกงคั่ว แกงกะหรี่ ฯลฯ ข้าวซอยใส่กะทิ ก๋วยเตี๋ยวแกง (แขก) ฯลฯ ควรใช้กะทิเทียม (ทำจากน้ำมันรำข้าว) หรือนมพร่องมันเนย หรือนมขาดมันเนยแทน
– กะทิ สำหรับขนมใส่กะทิ (จากมะพร้าว) เช่น กล้วยบวชชี ขนมปลากริมไข่เต่า บัวลอย แกงบวดต่างๆ สาคูเปียก เต้าส่วน สามารถใช้กะทิเทียมหรือกะทิธัญพืชหรือนมพร่องมันเนยแทนได้เช่นเดียวกัน
– เลี่ยงอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่ปลา ไข่แดง ตับ ไต มันสมอง ปลาหมึก หอยนางรม จำกัดไข่แดงไม่เกิน 3-4 ฟองต่อสัปดาห์ ส่วนไข่ขาวรับประทานได้ทุกวัน สำหรับเครื่องในสัตว์ไม่ควรรับประทานบ่อย จำกัดครั้งละ 2-3 ชิ้น
– เลี่ยงการใช้น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม และไขมันจากสัตว์ เช่น มันไก่ มันหมูมาหลอมเป็นน้ำมันเพื่อปรุงอาหาร ควรใช้น้ำมันรำข้าวเป็นหลักในการผัดและทอดอาหาร โดยไม่ใช้ไฟแรงเกินไป และใช้น้ำมันพืชอื่นๆบ้าง
– เลี่ยงแหล่งไขมันทรานส์ ซึ่งพบมากในเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม หรืออาหารที่ใช้ไขมันดังกล่าว เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมพัฟและพาย มันฝรั่งทอด น้ำมันทอดซ้ำ
– ลดอาหารที่เติมน้ำตาล ทั้งขณะปรุงประกอบอาหาร หรือเติมขณะกินอาหาร ขนมหวานจัด เครื่องดื่มหรือผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำตาลสูง
– เลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
– หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีไขมันในเลือดสูง ได้แก่
– เลือกรับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ได้แก่ ผัก ผลไม้ ข้าวกล้อง ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อย
– เลือกรับประทานอาหารที่ไม่ใช้น้ำมัน เช่น ยำต่างๆ แกงเลียง แกงส้ม แกงเหลือง แกงป่า แกงจืด ต้มยำ ปลานึ่งกับผัก ปลาย่าง มะเขือเผา อาหารที่ผัดใส่น้ำมันน้อย อาหารทอดที่ไม่อมน้ำมัน ปลาทอดโดยไม่ชุบแป้ง ไข่เจียวทอดใส่น้ำมันน้อย
– เลือกรับประทานถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเหลือง และปลาทู ปลาโอ ปลาทูน่า ปลาซาบะ ไขมันใต้ผิวหนัง ปลาทะเลดังกล่าวมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 อยู่มาก ช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดี อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
– เลือกรับประทานนมชนิดไขมันต่ำ (นมพร่องมันเนย) แทนนมสดครบส่วน
– เลือกรับประทานไอศกรีมไขมันต่ำหรือเชอเบท แทนไอศกรีมกะทิและไอศกรีมที่ทำจากนมและครีม
ทางเลือกที่น่าเลือกและปลอดภัยสำหรับโรคไขมันในเลือดสูง
Cordycep militaris [Reduce LDL-C]
Polysaccharides :
Polysaccharides are a type of carbohydrate composed of long chains of monosaccharides. They are often referred to as complex carbohydrates and play a role in immune function and digestive health. C. militaris contains beta-glucan polysaccharides, which are known to reduce LDL and total cholesterol levels.
คำตอบคือ :
ในถั่งเช่ามี โพลีแซคคาไรด์ ซึ่งประกอบด้วย คาโบไฮเดรท โมเลกุลใหญ่ ที่มาจาก โมโนแซคคาไรด์ หลายโมเลกุล เกาะเกี่ยวกัน ทำหน้าที่เป็น สารพลังงาน ของคาร์โบไฮเดรท สามารถสร้างภูมิต้านทาน ในการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี นอกจากนี้ ใน cordycep militaris ยังมีสาร เบต้ากลูแคน ที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดระดับ LDL และ TC (Total Choresterol) ในเลือดได้อย่าง มีประสิทธิภาพ
ref : สามารถ อ่านตัวเต็ม ได้ที่ Link..Nutriment..Page ด้านล่าง https://m.nootriment.com/cordyceps-militaris/
Conclusion : ดังนี้ เราน่าจะได้ข้อสรุปว่า.. ยากลุ่ม Statin ที่ได้เล่ามา ทั้งหมด มันล้วนไปพัวพันกับ โรค ที่น่ากลัว อีกหลายโรค ทีเดียว เช่น ระบบกล้ามเนื้อ / ระบบประสาท / ระบบไหลเวียนโลหิต / ตับ / ไต / หัวใจ / เก๊าท์ / เบาหวาน / กระเพาะ
ในขณะที่ ถั่งเช่า.. หากเราได้ทานประจำ เป็นปกติ ในทุกๆ วัน.. เราแทบไม่ต้อง พึ่งพา ยาลดไขมัน ที่เป็นอันตรายต่อ สุขภาพ อย่างร้ายแรง และ น่ากลัว ทั้ง เส้นโลหิตแตก ตับอักเสบ ไตวาย และ อีกหลายโรค ที่เชื่อมโยง
ขอเชิญชวนครับ ว่ามาทานถั่งเช่าเพื่อ ดูแลสุขภาพกัน ชีวิตของท่านจะปลอดภัยไร้กังวล และอยู่ดี มีสุขในทุกๆวันครับผม
ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.facebook.com/groups/1708380636153731/permalink/1879434769048316/