ถั่งเช่ากับโรคไทรอยด์ หรือ โรคคอพอกเป็นพิษ

ถั่งเช่ากับโรคไทรอยด์ หรือ โรคคอพอกเป็นพิษ
โรคไทรอยด์ หรือ โรคคอพอกเป็นพิษ (Toxic nodular goiter)

มีหลายต่อหลายท่านสอบถามมาว่า คนเป็นไทรอยด์ ทานถั่งเช่า ได้หรือไม่.. ผมเอง ไม่กล้าตอบ ในทันที เพราะ.. ก็ไม่ค่อยมั่นใจ อยู่เหมือนกัน จนกว่าจะได้ลอง สืบค้น หา งานวิจัย รองรับดูก่อน.. จึงได้นำมา เล่าสู่กันฟัง เผื่อเป็นประโยชน์

ในเรื่องราวของการ treat ผู้ป่วยที่เป็นไทรอยด์จนกระทั่งมีอาการดีขึ้น หรือ หายเป็นปกติได้

ตอนนี้ มาดูเรื่องของ ต่อมไทรอยด์ กันก่อน คือเมื่อเกิด ความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน ต้านทานของร่างกาย/แอนติบอดี/สารภูมิต้านทาน (Antibody) ต่อต่อมไทรอยด์ จะส่งผลให้ต่อมไทรอยด์ทั้งต่อม โตขึ้น และ เซลล์ต่อมไทรอยด์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมน สูงขึ้นเรียกว่า โรคเกรวฟส์ (Graves’ disease) ซึ่งเป็นสาเหตุพบบ่อยที่สุดของภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินคือประมาณ 70% ของภาวะนี้

อาการจากภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกินที่พบบ่อยได้แก่ ผอมลงทั้งๆที่กินจุ หัวใจเต้นเร็วและแรง ทนอากาศร้อนไม่ได้ เหงื่อออกมาก กล้ามเนื้อแขนและขาลีบ อุจจาระบ่อยขึ้น/ท้อง เสีย ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ ผมเปราะแห้ง ผมร่วง มือสั่น หงุดหงิดง่าย กังวลเกินเหตุ อารมณ์แปรปรวน อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ อาจมีต่อมไทรอยด์โตทั้งต่อมและอาจร่วมกับมีตาโปนทั้ง 2 ข้างเมื่อเกิดจากโรคเกรวฟส์ อาจมีปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์เมื่อเกิดจากคอพอกเป็นพิษ หรืออาจมีต่อมไทรอยด์โตเจ็บ อาจร่วมกับมีไข้เมื่อเกิดจากต่อมไทรอยด์อักเสบ

โรคของต่อมไทรอยด์ ตามอาการแล้ว แบ่งเป็น 5 กลุ่ม คือ

1. โรคต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
เรียกว่า โรคไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis) เมื่อไทรอยด์เป็นพิษเกิดจากปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์เรียกโรคนั้นว่า โรคคอพอกเป็นพิษ (Toxic nodular goiter)
การรักษาคือ การกินยาลดการทำงานของต่อมไทรอยด์ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และ/หรือ การกินน้ำแร่รังสีไอโอดีน โดยจะเป็นวิธีการใดขึ้นกับอายุ สุขภาพผู้ป่วย และ ดุลพินิจของแพทย์

2. โรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน
ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมนหรือโรคต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism)
ได้ แก่ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำกว่าปกติหรือเสียหายจากสาเหตุต่างๆเช่น จากการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ จึงส่งผลให้มีไทรอยด์ฮอร์โมนในร่างกาย/ในเลือดต่ำกว่าปกติ
การรักษาคือ การกินยาไทรอยด์ฮอร์โมน และการรักษาประคับประคองตามอาการเช่น กินยาขับน้ำลดบวม เป็นต้น

3. โรคคอพอก (Goiter หรือ Goitre)
คือ โรคต่อมไทรอยด์โต อาจโตเรียบทั่วทั้งสองกลีบ โตเรียบเพียงกลีบเดียว โตแบบเป็นตะปุ่มตะป่ำ หรือเป็นปุ่มก้อนเนื้อ อาจเกิดเพียงก้อนเนื้อเดียวหรือ หลายๆก้อน เกิดกับต่อมไทรอยด์เพียงกลีบใดกลีบหนึ่ง หรือกับทั้งสองกลีบพร้อมกัน ดังนั้นคอพอกจึงเป็นคำกลางๆหมายความถึงมีต่อมไทรอยด์บวมโต
รักษาตามสาเหตุของคอพอกเช่น รักษาภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น

4. โรคปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์ (Thyroid nodule)
คือ ปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์ซึ่งเป็นปุ่มเนื้อที่ไม่ ใช่เนื้องอกมะเร็ง โดยปุ่มเนื้อต่อมไทรอยด์แบ่งเป็น 3 ชนิดตามการจับไอโอดีนของเซลล์ปุ่มเนื้อ คือ
เมื่อเซลล์ปุ่มเนื้อจับไอโอดีนได้ตามปกติเรียกว่า วอร์มโนดูล (Warm nodule) ปุ่มเนื้อชนิด นี้มักเกิดจากร่างกายขาดเกลือแร่ไอโอดีน และเป็นปุ่มเนื้อที่ไม่กลายเป็นโรคมะเร็ง
เมื่อเซลล์ปุ่มเนื้อจับไอโอดีนได้สูงกว่าปกติเรียกว่า ฮอตโนดูล (Hot nodule) ซึ่งปุ่มเนื้อชนิดนี้เป็นชนิดพบได้น้อย มักทำให้มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน และมีรายงานเปลี่ยนเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้ประปรายน้อยมากๆ
เมื่อเซลล์ปุ่มเนื้อไม่จับไอโอดีนเรียกว่า โคลด์โนดูล (Cold nodule) ปุ่มเนื้อชนิดนี้โดยทั่ว ไปเป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็ง และจะยุบหายได้เมื่อได้รับการรักษาด้วยยาไทรอยด์ฮอร์โมนเรียก ว่า ไทรอยด์อะดีโนมา (Thyroid adenoma)
รักษาตามสาเหตุของคอพอกเช่น รักษาภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน เป็นต้น

5. โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid carcinoma)
เป็นโรคมะเร็งพบบ่อยชนิดหนึ่งของคนไทย เป็นโรคมะเร็งของผู้ใหญ่ แต่พบได้ตั้งแต่ในเด็กโตไปจนถึงผู้สูงอายุ ผู้หญิงพบเป็นโรคได้สูงกว่าผู้ชายถึงประมาณ 3 – 4 เท่า เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือการได้รับรังสีในบริเวณต่อมไทรอยด์โดยเฉพาะในช่วงเป็นเด็ก และอาการสำคัญคือ ต่อมไทรอยด์โตมอง เห็นได้และคลำได้ก้อนเนื้อหรือปุ่มเนื้อในต่อมไทรอยด์ และในโรคระยะลุกลามอาจคลำได้ต่อม น้ำเหลืองลำคอโตด้านเดียวกับที่มีก้อนเนื้อในต่อมไทรอยด์
การรักษาคือ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ และอาจร่วมกับการกินยาน้ำแร่รังสีไอโอดีน การฉายรังสีรักษาหรือยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นกับระยะของโรคมะเร็งและชนิดของเซลล์มะเร็ง

โดยภาพรวมของทั้ง 5 กลุ่ม สามารถสรุปได้ 3 ข้อคือ
1. ฮอร์โมน มากไป ก็ต้องใช้ยา กด ไว้
2. ขาด ฮอร์โมน ก็ต้องใช้ยาเพิ่มฮอร์โมน
3. เกี่ยวข้องกับมะเร็ง

โดยผู้เป็น ไทรอยด์ มักทราบดีจากแพทย์ว่า ตัวเองนั้น เป็น ไทรอยด์ ในกลุ่มใด การทาน ถั่งเช่า เพื่อบำรุงสุขภาพทั่วไป จึงสามารถ วินิจฉัยได้ ด้วยตนเอง เช่น

หาก.. ตรงกับ ข้อ 1 คือ ต้องรับยากดฮอร์โมนอยู่ ก็สามารถรับประทาน ถั่งเช่าได้เลย เพราะ ถั่งเช่า จะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ของ ต่อมไร้ท่อ ต่างๆ ได้ดี อยู่แล้ว

หาก.. ท่านเป็น ไทรอยด์ ในกลุ่ม ข้อ 2 คือ รับยาเพิ่ม ฮอร์โมน อยู่ ท่านควรทาน แต่เพียง พอดี ไม่มากเกินไป เพราะ ถั่งเช่า อาจไปเสริมฤทธิ์ยา ทำให้ เลือด มีฮอร์โมน มากเกินไป และเข้าไปอยู่ในกลุ่ม ข้อ 1 แทน

สุดท้าย.. คือ มะเร็งต่อมไทรอยด์ ในข้อที่ 3 คุณสมบัติของถั่งเช่า สามารถลดการแพร่กระจายของเซลมะเร็ง ทั่วไป อยู่แล้ว และ สามารถ ต่อต้าน มะเร็งของ อวัยวะต่างๆ ทำลาย เซลมะเร็งของ.อวัยวะต่างๆ ได้ การรับประทาน ถั่งเช่าประจำ จึงย่อมเกิดผลดี มากกว่า ผลเสีย

และอีกประการหนึ่ง adenosine ในถั่งเช่า จะมีส่วนช่วยในการ บริหารระบบเลือดและ การไหลเวียน จึงมีส่วนช่วยให้ ร่างกาย สดชื่น ไม่เหนื่อยง่าย ไม่เกิดการท้องเสีย ถ่ายบ่อย และให้พลังงาน ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ได้ดีขึ้น

Kaylor อธิบายการใช้ Cordyceps ตามศาสตร์ทางการแพทย์จีน ของเห็ดบางชนิดในสาขาการรักษาสมดุลของต่อมไร้ท่อ เห็ดถั่งเช่า มีประวัติทางการแพทย์ที่ยาวนาน และมีสรรพคุณ ที่หลากหลาย ต่อร่างกาย ซึ่งต่อมไทรอยด์ ก็เป็นส่วนหนึ่งด้วย โดยกล่าวว่า สามารถใช้เพื่อ เสริมสร้าง ความแข็งแรง และสร้างความสมดุลให้กับระบบต่างๆ บริษัท Kaylor ได้ทำ ผลิตภัณฑ์ในชื่อ ที่ว่า Super Cordyceps ออกมาเพื่อ รักษาอาการเหล่านี้ อย่างน้อยที่สุด ก็ยังได้รับการยืนยันตาม Kaylor โดยการศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบ ที่ได้ทำการศึกษาจากหนูทดลอง Cordyceps สามารถช่วยให้ ต่อมไทรอยด์และต่อมไร้ท่ออื่นๆ สามารถทำงานได้ อย่างเป็นปกติ (สามารอ่านเพิ่มเติมจาก งานวิจัย ใน Reference ได้ ครับ)

สรุปน่ะครับ 

  1.  ถั่งเช่าจะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ของต่อมไร้ท่อต่างๆ ได้ดี
  2.  สำหรับคนที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ คุณสมบัติของถั่งเช่า สามารถลดการแพร่กระจายของเซลมะเร็ง

ถั่งเช่าจะช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน ของต่อมไร้ท่อต่างๆ ได้ดี / สำหรับคนที่เป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์ คุณสมบัติของถั่งเช่า สามารถลดการแพร่กระจายของเซลมะเร็ง


สรรพคุณอื่นๆของถั่งเช่า


ขอขอบคุณข้อมูล Facebook : อาจารย์ Worawit Rochanavipart

Reference :

http://haamor.com

https://www.bangkokpattayahospital.com

https://www.ncbi.nlm.nih.gov

http://www.wholefoodsmagazine.com

4.5/5 (2)

หากบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกันให้คะแนนด้วยนะคะ