ความดัน โรคร้ายใกล้ตัว

ความดัน

เมื่อได้ยินคำนี้ หลายๆคนมักจะคุ้นเคยเพราะเป็นโรคที่พบเจอมาในคนที่อายุมากขึ้น จนถึงวัยชรา พบเจอเป็นส่วนมากกับเพศชาย คนที่ร่างกายที่อ้วน หรือแม้แต่คนปกติ ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ ความดัน

โลหิตสูง เป็นสาเหตุสำคัญของหลายๆ โรคอันตรายที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคไต โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคอื่นๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่อันตรายจนถึงชีวิตได้ทั้งนั้น อย่างไรก็ตามความดันโลหิตสามารถตรวจพบได้ง่ายๆ จากการวัดความดันเมื่อเราเข้ารับการตรวจร่างกาย หรือตรวจสุขภาพประจำปี ดังนั้นหากเราให้ความสำคัญกับความดันโลหิตอยู่เสมอ ก็อาจจะช่วยป้องกันเราจากโรคอันตรายเหล่านั้นได้อย่างทันท่วงที โดยปกติความดันคนเราจะขึ้นลงได้ตามอารมณ์ และสภาพร่างกาย ถ้าเป็นคนอ้วนอาจจะมีความดันที่สูงที่มากขึ้นตามขนาดร่างกาย


ความดันหรือความดันโลหิตสูง หรือความดันเลือดสูงเป็นอย่างไร
ความดันโลหิต ประกอบด้วยค่าตัวเลข จำนวน 2 ค่า ดังนี้
ค่าบน เป็นความดันช่วงหัวใจบีบ
ค่าล่าง เป็นความดันช่วงหัวใจคลายตัวค่าความดันโลหิตที่เหมาะสม คือ ค่าบนไม่เกิน 120 และค่าล่างไม่เกิน 80

เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณมีความดันอยู่ที่ 130/80 ขึ้นไป แสดงว่าอยู่ในเกณฑ์ความดันโลหิตสูงเรียบร้อยแล้ว ซึ่งอาจจะถึงเวลาที่ต้องไปพบแพทย์
หากความดันโลหิตสูงไม่เกิน 10 มิลลิเมตรปรอท จากค่าปกติ เช่น 130/90 ส่วนใหญ่แพทย์ อาจแนะนำให้กลับไปปรับพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน จะยังไม่ถึงกับให้เข้ารับการรักษาอย่างเป็นทางการ เว้นแต่จะมีอาการที่อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตอย่างชัดเจน

อาการของความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่ค่อยแสดงอาการผิดปกติ ยกเว้นในผู้ป่วยที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงระยะรุนแรงก็อาจมีอาการแสดง เช่น ปวดศีรษะรุนแรง หายใจสั้น เลือดกำเดาไหล ซึ่งอาการเหล่านี้ยังถือว่าเป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงและบอกไม่ได้ชัดเจน หรือในบางรายทราบเมื่อตรวจพบภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงขึ้นแล้ว ทำให้ต้องหมั่นมีการตรวจสุขภาพและวัดค่าความดันอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้โรคนี้ถูกเรียกว่าเป็นฆาตกรเงียบ (Silent Killer) ที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้อย่างไม่ทันระวังตัว

สำหรับอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้นจะแสดงออกในลักษณะของการแน่นหน้าอก มักเกิดอาการแน่นตรงกลางหน้าอกในช่วงที่ออกกำลังกายหรือทำงานหนัก โดยเมื่อหยุดออกกำลังกายหรือหยุดทำงานหนักไม่กี่นาที อาการปวดก็จะหายไป สำหรับอาการแน่นหน้าอกนั้น จะมีความรู้สึกเหมือนมีสิ่งของที่มีน้ำหนักมาทับจนทำให้เกิดอาการแน่นและแสบตามไปด้วย มีอาการปวดร้าวในบริเวณอื่น เช่น ปวดในบริเวณแขนซ้าย กราม หลัง ลิ้นปี่ และคอ อีกทั้งยังมักมีอาการหายใจคล้ายเป็นโรคหอบ มีอาการคลื่นไส้ เป็นลม มือเท้าเย็นผิดปกติ และเหงื่อออกเป็นจำนวนมาก

สาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูง
สำหรับสาเหตุของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงนั้นมีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน คือ

เกิดจากพันธุกรรม ซึ่งโอกาสที่คนในครอบครัวจะเป็นโรคชนิดนี้เป็นไปได้สูงมาก
เกิดจากโรคอ้วนหรือร่างกายมีน้ำหนักที่เกินตัว เนื่องจากโรคชนิดนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เป็นโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือดต่างๆ เกิดภาวะตีบจากภาวะไขมันไปเกาะที่ผนังหลอดเลือด เมื่อเกิดโรคชนิดนี้ขึ้นในร่างกาย ก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงตามมาได้ง่าย
เกิดจากการเป็นโรคไตเรื้อรัง เนื่องจากโรคชนิดนี้จะส่งผลถึงการสร้างเอนไซม์และฮอร์โมนที่มีส่วนในการควบคุมความดันโลหิต
เกิดจากการมีพฤติกรรมการสูบบุหรี่ เพราะในบุหรี่มีสารพิษที่อยู่ในควันปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่ส่งผลต่อการทำให้เกิดการอักเสบ เกิดการตีบตันของหลอดเลือดต่างๆ รวมทั้งหลอดเลือดไต อีกทั้งยังส่งผลต่อหลอดเลือดหัวใจ
เกิดจากการดื่มสุรา เพราะการดื่มสุราจะส่งผลทำให้หัวใจของคนเราเกิดภาวะที่เต้นเร็วกว่าปกติ และนั่นก็จะส่งผลต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงสูงถึงประมาณ 50% ของผู้ที่ติดสุรา
เกิดจากการทานอาหารที่มีรสเค็มเป็นประจำ เพราะความเค็มที่ร่างกายได้รับในปริมาณที่มากจนเกินไป มีส่วนทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
เกิดจากการไม่หมั่นออกกำลังกาย เพราะการไม่ออกกำลังกายนั้นจะส่งผลต่อการเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ซึ่งหากเผชิญกับโรคทั้งสองชนิดนี้ ก็จะทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้
เกิดจากผลข้างเคียงของการทานยา เช่น การทานยาที่อยู่ในกลุ่มสเตียรอยด์

หากมีความดันโลหิตสูงเพียงเล็กน้อย ให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตเช่นลดทานเค็ม ทานอาหารที่มีโพแทสเซียมสูงให้มากขึ้น เช่น ลูกเกด ลูกพรุน เมล็ดทานตะวัน กล้วย อินทผาลัม ผักโขม แซลมอน เห็ด และส้ม ลดน้ำหนัก และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา เว้นแต่ทำทุกอย่างแล้ว ความดันโลหิตก็ยังไม่ลดลง
หากความดันโลหิตค่าบนมากกว่า 140 ควรเข้ารับการรักษาจากแพทย์ แต่หากน้อยกว่านี้ อาจจะยังไม่แนะนำให้เข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างจริงจัง เพราะนอกจากจะสามารถลดความดันโลหิตลงได้ด้วยตัวเองจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตตามที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว


ผลข้างเคียงของการรักษาความดัน
การรักษาด้วยยาอาจส่งผลข้างเคียงอื่นๆ ได้ เช่น เวียนหัว หน้ามืด หรือทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของไตลดลง เว้นแต่คุณจะมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว เช่น เป็นโรคเบาหวาน สูบบุหรี่เป็นประจำ หรือมีประวัติสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคหัวใจมาก่อนควรปรึกษาแพทย์ตั้งแต่เริ่มต้น

วิธีการวัดความดัน
การวัดความดันโลหิตอาจทำได้หลายครั้ง ในเวลาที่ต่างกัน เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัย หาค่าความดันโลหิตที่แน่นอนได้
วิธีที่ทำให้ได้ค่าความดันโลหิตที่ถูกต้องที่สุด คือ ให้นั่งนิ่งๆ อยู่ในห้องเฉยๆ กับเก้าอี้ ยืดหลังตรงพิงพนัก งดดื่มแอลกอฮอล์ หรือกาแฟ ก่อนเข้ารับการตรวจอย่างน้อย 6 ชั่วโมง นั่งอยู่เฉยๆ อย่างน้อย 5 นาที และอาจทำการวัดค่าความดันโลหิตซ้ำครั้งที่ 2 หลังจากผ่านครั้งแรกไปอย่างน้อย 5 นาที หากมีการวัดซ้ำครั้งที่ 3 ควรนำมาหาค่าเฉลี่ยอีกครั้ง เพื่อให้ได้เป็นค่าความดันที่ถูกต้องและแม่นยำที่สุด

ขนาดของสายรัดแขนก็มีส่วนทำให้ค่าความดันโลหิตมีความคลาดเคลื่อนได้เช่นกัน เช่น หากคนที่มีต้นแขนใหญ่ ใช้สายรัดแขนวัดความดันขนาดเล็ก ค่าความดันที่ได้อาจจะสูงเกินจริง ดังนั้นควรเลือกสายรัดแขนที่เหมาะสามกับขนาดของแขนตัวเอง
ใครที่มีปัญหาเรื่องความดันโลหิต หรืออยากควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติอยู่เสมอ สามารถหาซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตมาใช้ที่บ้านเองได้ ปัจจุบันมีจำหน่ายแล้วตามร้านขายยาใกล้บ้าน หรือห้างสรรพสินค้าทั่วไป

อาหารสำหรับผู้ป่วยความดัน
อาหารที่ช่วยลดความดันโลหิตได้ดี ได้แก่ ผัก ผลไม้สด ถั่ว อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อย และอาหารที่มีโพแทสเซียม สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้มากกว่า 11 มิลลิเมตรปรอท ในขณะที่การออกกำลังกายเป็นประจำก็จะช่วยลดความดันโลหิตได้อีก 4 มิลลิเมตรปรอท หากทำควบคู่กันจะช่วยลดความดันโลหิตได้มากขึ้น
หากเข้ารับการรักษากับแพทย์ด้วยการใช้ยา ยังสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตอย่างที่แนะนำไปข้างต้นได้อีกเช่นกัน และหากระหว่างการทานยาตัวใดตัวหนึ่งอยู่ แล้วมีอาการข้างเคียงที่รู้สึกได้ ควรรีบพบแพทย์ที่ทำการรักษาทันที เพื่อที่แพทย์อาจจะทำการเปลี่ยนตัวยาใหม่ที่เหมาะสมกับเรามากขึ้น

อาหารสำหรับผู้ป่วยความดัน

 

อาหารสำหรับผู้ป่วยความดัน

ถั่งเช่าช่วยเรื่องความดันอย่างไรบ้าง
ถั่งเช่าถือว่าเป็นสมุนไพรที่ช่วยในเรื่องความดันได้เป็นอย่างดี
ถั่งเช่า (Cordyceps sinensis) ลดปริมาณของไขมันที่ไม่ดีในเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดของโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง
ส่วนประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัว Unsaturated fatty acids และ Polysaccharide
– ลดปริมาณของ Triglyceride ในเลือด, Low-density lipoprotein (LDL)
– เพิ่ม High-density cholesterol (HDL) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกำจัดสิ่งที่
ไม่ดีที่อยู่ในกระแสเลือดออกไป
– ลดความหนืดของเลือด (Plasma viscosity) ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น
– ป้องกันการเกิดลิ่มลือด (Prevention of anti-thrombosis)
– รวมทั้งป้องกันการเกิดของของลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดง
– ป้องกัน Coronary spasm ช่วยให้เลือดไหลเวียนปกติและไปหล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญ
ต่าง ๆ ของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ
– ปรับการแข็งตัวของหลอดเลือดและควบความดัน
– ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองทุกชนิด

หากคุณมีอาการความดัน ซึ่งเข้ารับการรักษาแล้ว อาจจะลองหาถั่งเช่ามารับประทานเพื่ออาจจะช่วยให้อาการหรือความดันของคุณ ดีขึ้นได้ไม่มากก็น้อย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของแต่ละท่านและสภาพร่างกายของแต่ละคน

5/5 (4)

หากบทความนี้มีประโยชน์ ช่วยกันให้คะแนนด้วยนะคะ