พิษวิทยาและปริมาณเห็ดถั่งเช่า
เห็ดถั่งเช่าเป็นหนึ่งในเห็ดเป็นยาที่ดีที่สุด เห็ดถั่งเช่าได้รับการยอมรับในด้านผลที่ดีทางเภสัชวิทยาและมีความ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่อย่างไรก็ตามยังมีรายงานว่ามีผู้บริโภคที่มีอาการที่ไม่พึงประสงค์เมื่อทานเห็ดถั่งเช่า เช่นอาการปากแห้ง คลื่นไส้ และท้องร่วง (Zhu et al., 1998a)
ผู้ป่วยบางรายแสดงอาการภูมิแพ้เมื่อทานเห็ดถั่งเช่า สายพันธุ์ CS-4 (Xu, 1994) ผู้เขียนได้รับรายงานจากผู้บริโภคเห็ดถั่งเช่ารายหนึ่งว่ามีอาการมึน เมาเห็ด นอกเหนือจากข้อมูลข้างต้นอาการแพ้เห็ดถั่งเช่า อ่านจากบทความนี้ครับ https://cordyl.com/อาการแพ้ถั่งเช่าและผลข/
เห็ดถั่งเช่าถือว่าเป็นเห็ดที่เป็นยาและไม่มีพิษ กรณีศึกษาฤทธิ์ต่อการฟื้นฟูระบบการทํางานของไต โดยให้ผู้ป่วยภาวะไตวายเรื้อรัง รับประทานถั่งเช่าปริมาณ 3 – 5 กรัมต่อวัน พบว่าถั่งเช่าช่วยให้การทํางานของไตมีประสิทธิภาพดีขึ้น และพบว่าหลังจากให้ผู้ป่วยรับประทานถั่งเช่าต่อเนื่องเป็นระยะเวลา นาน 1 เดือน สามารถช่วยลดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ เกิดจากภาวะไตวาย ได้แก่ลดความดันโลหิต ลดระดับโปรตีนในปัสสาวะ ลดการเกิดภาวะโลหิตจาง ช่วยเพิ่มเอนไซม์ Superoxide dismutase (SOD) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และมีรายงานว่าการให้ผู้ป่วยที่ การทํางานของไตบกพร่องจากการใช้ยา Gentamicin รับประทานถั่งเช่า 4.5 กรัมต่อวัน ส่งผลทําให้ระบบการทํางานของไตดีขึ้นเป็น 29 เปอร์เซ็นต์ เปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมหลังรับประทานถังเช่าภายใน 6 วัน (นพมาศ และธิดารัตน์ . 2556) ซึ่งสอดคล้องกับ Mizuno (1999) ที่แนะนําให้ทานถั่งเช่า 3 – 4.5 กรัมต่อวัน ยกเว้นกรณีผู้ป่วยโรคตับระดับรุนแรง ในขณะที่ Zhu et al. (1998a) แนะนําให้ผู้ป่วย ที่มีภาวะไตวายทานเห็ดถั่งเช่า 3 – 6 กรัมต่อวัน
ถั่งเช่ากับโรคไต อ่านที่นี่ครับ https://cordyl.com/ถั่งเช่าดูแลผู้ป่วยโรค/
กรณีศึกษาในผู้ป่วยเบาหวานพบว่าการให้ผู้ป่วยรับประทานถังเช่าปริมาณ 3 กรัมต่อวัน สามารถควบคุมระดับน้ําตาลในเลือดได้ถึง 95 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่กลุ่มที่รักษาด้วย ยาแผนปัจจุบันสามารถควบคุมระดับน้ําตาลได้เพียง 54 เปอร์เซ็นต์ (นพมาศ และธิดารัตน์, 2556) Dudgeon et al. (2018) รายงานว่าการทานเห็ด ถังเช่าในปริมาณ 1 – 2 กรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 28 วันช่วยเพิ่มระดับความทน (ความอึด, Endurance performance) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับ การทาน 12 กรัมต่อวัน เป็นระยะเวลา 7 วัน เห็ดถั่งเช่า ช่วยเพิ่มการใช้ออกซิเจน เวลาในการทําให้ร่างกาย อ่อนเพลีย และลดระดับแลคแตทในเลือด (Blood lactate)
ธัญญาและคณะ (2557) ได้ทําการตรวจสอบความ ปลอดภัยในการบริโภค และวัดความเป็นพิษของเห็ด ถังเช่าสีทองที่เพาะบนธัญพืชด้วยเทคนิคการฆ่าเชื้อด้วย ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ พบว่า ค่า Oral LD ที่ทดสอบ ในหนูทดลองทั้งสองเพศ มากกว่า 15,000 มิลลิกรัมต่อ กิโลกรัม ซึ่งถือว่าไม่มีความเป็นพิษต่อผู้บริโภค (LD คือ ปริมาณของสารที่ทําให้สัตว์ทดลองจํานวน 100 ตัว ตาย ไปครึ่งหนึ่ง หรือ 50 เปอร์เซ็นต์)
ถั่งเช่ากับระดับน้ำตาลในเลือด https://cordyl.com/ถั่งเช่าช่วยลดน้ำตาลใน/
ข้อควรระวังในการ รับประทานเห็ดถั่งเช่า
1. ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษา ด้วยยาต้านไวรัส หรือยารักษาโรคเบาหวาน เนื่องจาก เห็ดถั่งเช่ามีสรรพคุณลดต้านเชื้อไวรัส และน้ําตาลในเลือด อาจไปเสริมฤทธิ์กับยาที่แพทย์สั่งทําให้ปริมาณน้ําตาลใน เลือดลดมากเกินไป (Tuli et al., 2014)
2. ผู้ป่วยที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (Autoimmune) เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเอสแอลอี (โรคลูปัส หรือโรคพุ่มพวง) และโรคปลอกประสาทอักเสบ (โรค เอ็มเอส) ไม่ควรบริโภคเห็ดถั่งเช่า เพราะเห็ดถั่งเช่ามีฤทธิ์ กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน (Tuli et al., 2014)
3. ควรระวังการใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับยากลุ่มป้องกัน การเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เนื่องจากเห็ดถั่งเช่ามีสรรพคุณ ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด (นพมาศ และธิดารัตน์,
2556)
4. ห้ามใช้ในคนที่แพ้เห็ดถั่งเช่า ผู้ป่วยที่มีอาการ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง และผู้ป่วยที่มีการเต้นของหัวใจ ผิดปกติ (นพมาศ และธิดารัตน์, 2556)
5. ผู้ที่ที่แพ้โปรตีนจากแมลงควรเลี่ยงการบริโภค เห็ดถั่งเช่าที่เพาะด้วยแมลงไปทานเห็ดถั่งเช่าที่เพาะด้วย เมล็ดธัญพืช
6. ยังไม่มีรายงานการทดสอบในหญิงตั้งครรภ์และ ให้นมบุตร จึงไม่แนะนําให้รับประทาน
7. หากทานเห็ดถั่งเช่าแล้วเกิดอาการปากแห้ง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เลือดกําเดาไหล มีน หรือ เมาเห็ด ควรหยุดรับประทาน
การตอบสนองต่อสารจะผันแปรไปตามปริมาณที่ ได้รับ จํานวนครั้ง และช่องทางที่ได้รับสาร นอกจากนี้ยัง มีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ชนิดของสัตว์ อายุ เพศ ภาวะโภชนาการ สุขภาพ และความสามารถในการ ปรับตัว (นิธิยา และวิบูรย์, 2553) ดังนั้น คนแต่ละคน จะมีการตอบสนองต่อเห็ดถั่งเช่าได้แตกต่างกัน สุขภาพ ทางกายและอารมณ์ของแต่ละคน มีผลอย่างมากต่อการ ออกฤทธิ์ของเห็ดถั่งเช่า ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เห็ดถั่งเช่า จําหน่ายในท้องตลาดมีหลากหลายรูปแบบ หลายระดับ คุณภาพ และราคา ดังนั้นผู้บริโภคควรศึกษาข้อมูลให้ ดีก่อน เพื่อความปลอดภัย และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อ ตัวผู้บริโภคเอง
ถั่งเช่าไม่เหมาะกับใคร https://cordyl.com/ถั่งเช่าไม่เหมาะกับใคร/
บทสรุป
เห็ดถั่งเช่าแบ่งตามรูปแบบการไปใช้งาน ได้ 2 รูปแบบ คือ นํามาประกอบอาหาร และ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ยารักษาโรค อาหารเสริมสุขภาพ และเครื่องสําอาง เป็นต้น เห็ดถั่งเช่าได้รับการยอมรับในด้านผลที่ดีทาง เภสัชวิทยา และมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค แต่ยังมีบางคนแพ้เห็ดตัวนี้ การตอบสนองต่อ เห็ดถั่งเช่าของแต่ละคนแตกต่างกัน ผันแปรไป ตามปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้บริโภคควรที่จะศึกษาข้อมูลเบื้องต้นก่อนที่จะบริโภคเห็ดถั่งเช่า
การทานเห็ดถั่งเช่า
https://cordyl.com/ถั่งเช่ากับโรคเบาหวาน/
https://cordyl.com/ถั่งเช่าทานอย่างไร/
https://cordyl.com/ถั่งเช่า-1-แคปซูลให้ประโ/
https://cordyl.com/ถั่งเช่าควรทานนานแค่ไห/
https://cordyl.com/ผู้ที่เริ่มต้นทานถั่งเ/
ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ การเพาะเห็ดถั่งเช่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญา ทะพิงค์แก
เอกสารอ้างอิง
คเณวิชญ์, อภิชญา ทองทับ และวรรณพร เสีทอง และการนําไปใช้ประโยชน์ เชียงใหม่
กภาพจริงหรือ?. จุลสารคณะเภสัชศาสตร์
Cops militaris fruiting bodies. Edible
118) The effects of high and low-dose after seven and twenty-eight days.
ธัญญา ทะพิงค์แก, มงคล ยะไชย, ศุภชัย ศรีธิวงค์, กัญจน์พัชร์ อุปลศิลป์, อภิรดา พรปัณณวิชณ์ อธิชา
ทะพิงค์แก. (2557) รายงานวิจัย การศึกษาการเพาะเลี้ยงเห็ดสมุนไพร ถั่งเช่าสีทอง และการฟัง
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่, นพมาศ สนทรเจริญนนท์ และธิดารัตน์ จันทร์ดอน. (2556) “ถังเช่า” ช่วยเพิ่มสมรรถภาพจริงหรือ? 0
มหาวิทยาลัยมหิดล. 8 พฤษภาคม-สิงหาคม): 6-7. นิธิยา รัตนาปนนท์ และวิบูรณ์ รัตนาปนนท์. (2553) สารพิษในอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโ. Che, Z. M. (2003) Assessment on edible safety of artificially-cultivated Cordyceps militaris fruitina
Fungi. 25(3): 45-46. Dudgeon, W. D., Thomas, D. D., Dauch, W., Scheett, T. P. and Webster, M. J. (2018) The effects of high an
Cordyceps militaris-containing mushroom blend supplementation after seven and twenty
American Journal of Sports Science. 6(1): 1-7. Halpern, G. M. (2007) Healing mushrooms. http://www.alohamedicinals.com/HealingMush Private 10-18.00
(retrieved 10 December 2011). Li, J., Guan, M. and Li, Y. (2015) Effects of cooking on the contents of adenosine and cordycepin in Cordycens
militaris. Procedia Engineering. 102: 485-491. Mizuno, T. (1999) Medicinal effects and utilization of Cordyceps (Fr.) Link (Ascomycetes) and Isaria Fr. (Mitosporic
fungi) Chinese caterpillar fungi, “Tochukaso” (review). International Journal of Medicinal Mushrooms.
1: 251-262. Tuli, H. S., Sandhu, S. S. and Sharma, A. K. (2014) Pharmacological and therapeutic potential of Cordyceps with
special reference to Cordycepin. 3 Biotech. 4(1): 1-12. Wang, J. F. and Yang, C. Q. (2006) Research survey on artificial cultivation and product development of Cordyceps
militaris. Lishizhen Medicine and Materia Medica Research. 17: 268-269. Xu, Y. (1994) Drug allergy occurred in a patient after orally taken Jin ShuiBao capsule. Chinese Journal Chinese
Materia Medica. 19: 503.
Zhu, J. S., Halpern, G. M. and Jones, K. (1998a) The scientific rediscovery of a precious ancient Chinese herbal
regimen: Cordyceps sinensis: Part II. The Journal of Alternative and Complementary Medicine. 4(4): 429-457. Zhu, J. S., Halpern, G. M. and Jones, K. (1998b) The scientific rediscovery of an ancient Chinese herbal medicine.
Cordyceps sinensis Part I. The Journal of Alternative and Complementary Medicine. 4(3): 289-303.